ยุคทองธุรกิจ ‘โดรน’

14 พ.ย. 2562 | 09:51 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2562 | 16:51 น.
1.4 k

 

“โดรน” หรืออากาศยานไร้คนขับ กำลังเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญที่เห็นได้ชัดเจนในตอนนี้ คือ กลุ่มไทยคม, กลุ่มปตท. และ คูโบต้า เป็นต้น

แม้แต่ในประเทศจีน กำลังพัฒนาโดรนไร้คนขับให้มีขนาดใหญ่เพื่อใช้โดยสาร และขนของได้อีกด้วย

นั่นจึงเป็นที่มาที่กลุ่ม ธุรกิจทรานส์ฟอร์มไปสู่ฟิวเจอร์โปรดักต์ใหม่ๆ

 

ไทยคมตั้งบริษัทลูก

เป็นเพราะดาวเทียมถูกดิสรัปชัน ไทยคม หรือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ต้องทรานส์ฟอร์มธุรกิจไปสู่ ฟิวเจอร์ โปรดักต์ นั่นก็คือ โดรน

ด้วยการจัดตั้ง บริษัท ไทย แอดวานซ์ อินโนเวชั่น จำกัด (ไทย เอไอ) ให้บริการด้าน TV Solution และ Business TV โดยพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม, โครงข่ายโทรทัศน์ และ ระบบไอพีทีวีแบบครบวงจร พร้อมบริการแบบ Turnkey solution ที่ปรับเปลี่ยนบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล

ยังประเมินไม่ได้ว่ามูลค่าทางธุรกิจจำนวนเท่าไหร่ แต่โดรนสามารถให้บริการและต่อยอดธุรกิจได้อีกเยอะทั้งโลจิสติกส์, ขนส่ง และโดรนเกี่ยวกับเกษตรนายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ซีอีโอ ของ ไทยคม บอกกับฐานเศรษฐกิจ


 

 

ผนึก ปตท.

ไม่ใช่แต่ไทยคมเท่านั้น กลุ่มอุตสาหกรรมนํ้ามันอย่าง ปตท.ขยายมาจับตลาดโดรนโดยจัดตั้ง บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

เพื่อให้บริการด้านเทคโน โลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์แก่ธุรกิจ สำหรับการปฏิบัติงานทั้งบนบก ในทะเล และทางอากาศ เช่น หุ่นยนต์ใต้นํ้าอัตโนมัติไร้สาย (Inspection-class Autonomous Underwater Vehicle - IAUV), หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้นํ้า (Subsea Flowline Control and Repair Robot-SFCR) ตัวแรกของโลก หุ่นยนต์ตรวจสอบภายในท่อ (In-pipe Inspection Robot - IPIR) และอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle-UAV) หรือโดรน สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ในที่ สูง ถ่ายภาพทางอากาศ รวมทั้งโดรนแปรอักษร

 

ยุคทองธุรกิจ ‘โดรน’

 

รุกโดรนการเกษตร

ล่าสุดบริษัททั้ง 2 ตกลงร่วมกันพัฒนานวัตกรรมอากาศ ยานไร้คนขับหรือโดรนเพื่อใช้ในงานเกษตรกรรม ชูจุดเด่นในการออกแบบโดรนให้มีฟังก์ชันการ ใช้งานที่เหมาะสม ใช้งานง่าย และมีระดับราคาที่เกษตรกรและผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ มุ่ง เสริมประสิทธิภาพให้แก่ภาคเกษตรกรรมของไทย

 

รถไถ “คูโบต้าร่วมวง

แม้แต่บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าตลาดรถไถคูโบต้าทุ่มเงินกว่า 150 ล้านบาท เปิดศูนย์เรียนรู้การ เกษตรสมัยใหม่ ภายใต้ชื่อKUBOTA Farm” บนเนื้อที่ 220 ไร่ ในจังหวัดชลบุรี เปิดโอกาสให้เกษตรกรไทยและต่างชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้นวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคตแบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยวางแผนให้ผู้สนใจได้เยี่ยมKUBOTA Farm” อีกด้วย

เป้าหมาย ของ คูโบต้า ต้องการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ลํ้าสมัย เพื่อรองรับการทำเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ การนำเอาระบบ GNSS (Global Navigation Satellite System) เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่องจักรกลการเกษตรของคูโบต้า รวมทั้งนำระบบดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดค่า เพื่อปรับปรุงการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการบริหารจัด การฟาร์ม (Farm Management; end to end solution) ได้ร่วมทดสอบและนำร่องพัฒนาระบบกับองค์กรทางภาครัฐและเอกชน แล้วในขณะนี้

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,522 วันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2562