ติดเทคโนโลยีดูแลผู้สูงอายุเล็งขยายผล 200 แห่งทั่วประเทศ

14 ก.ค. 2562 | 11:09 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ค. 2562 | 18:19 น.
2.2 k

เนคเทค ผนึกสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย“การพัฒนาและขยายผลการใช้ประโยชน์ระบบบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุ”เพื่อเป็นการยกระดับการดูแลและการให้บริการผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลรองรับสังคมสูงอายุคุณภาพในอนาคต

ติดเทคโนโลยีดูแลผู้สูงอายุเล็งขยายผล 200 แห่งทั่วประเทศ

ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สวทช. เปิดเผยว่าการลงนามความร่วมมือการพัฒนาและขยายผลการใช้ประโยชน์ระบบบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุเพื่อยกระดับการบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแลที่ดีด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุที่เหมาะสมอีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัยพัฒนาทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการบริการและดูแลผู้สูงอายุของประเทศให้มีศักยภาพในการรองรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต

 

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) ในปี2564 ซึ่งจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดจากนั้นจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด(Super Aged Society) ในปี2574 จะมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ28 ทำให้หลายฝ่ายตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้นี้รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและมีแผนงานบูรณาการซึ่งดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับผ่านโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่ออนาคตสังคมสูงวัยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริการที่เหมาะสมและเอื้อต่อการดำรงชีวิต

 

ดร.กัลยา กล่าวว่าสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดยศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุร่วมมือกับสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยของผู้ประกอบการกิจการผู้สูงอายุในประเทศเพื่อนำระบบบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุไปใช้งานมุ่งหวังให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาโดยนักนวัตกรและนักวิจัยไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาธุรกิจการให้บริการและดูแลผู้สูงอายุพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ(ผู้ใช้งาน) และผู้สูงอายุ(ผู้รับบริการ) ได้อย่างแท้จริง

 

สวทช. โดยทีมนักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์(A-MED) และสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยได้นำระบบบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุไปใช้ในระยะนำร่องปี2562 ที่บ้านทิพย์รดาเอลเดอรี่แคร์ซึ่งมีความพร้อมในการร่วมพัฒนาและขยายผลการใช้งานระบบบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุร่วมกับทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพเสริมสร้างการให้บริการดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

“จากการที่ได้สำรวจพื้นที่และความต้องการในเบื้องต้นจึงมีแผนพัฒนาระบบเช่นระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุข้อมูลทางสุขภาพของผู้สูงอายุจะได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดโดยจะมีการพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพในรายบุคคลและจะแจ้งเตือนหรือแนะนำผู้ดูแลให้ดำเนินการแก้ไขได้อย่างเหมาะสมระบบบริหารการดูแลผู้สูงอายุ(Care Plan Management)เป็นเครื่องมือในการช่วยการวางแผนติดตามควบคุมคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุสร้างความมั่นใจในบริการสำหรับญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุระบบบริหารจัดการด้านโภชนาการของผู้สูงอายุเพื่อคำนวณอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์และครบถ้วนและระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นผู้ดูแลสถานดูแลสามารถแจ้งไปที่สายด่วน1669 ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลพิกัดสถานดูแลผู้สูงอายุพร้อมกับข้อมูลพื้นฐานทางสุขภาพของผู้สูงอายุไปพร้อมกันด้วยทำให้การตอบสนองให้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น”

 

อย่างไรก็ตามการร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการนำงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดและร่วมแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานอีกทั้งยังสามารถขยายผลให้ครอบคลุมไปยังผู้ประกอบการกิจการผู้สูงอายุรายอื่นซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยอีกกว่า200 แห่งทั่วประเทศอันจะเป็นการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมการให้บริการและดูแลผู้สูงอายุไทยได้อย่างครอบคลุมทั้งมิติทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพของผู้สูงอายุที่ดีขึ้นสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจยุคเศรษฐกิจสูงวัยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

นายแพทย์ฆนัท ครุธกุล นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยกล่าวว่าสมาคมฯมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกประมาณ300 คนโดยสมาคมฯทำหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการของสมาชิกเพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณภาพที่เป็นมาตรฐานในการบริการที่ดีซึ่งจะส่งต่อการดูแลผู้สูงอายุที่ดีขึ้นด้วยทั้งนี้สมาคมฯได้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเพราะผู้สูงอายุจำเป็นต้องรับทราบว่าสถานบริการไหนมีมาตรฐานทั้งในเรื่องคุณภาพบริการและการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคนอกจากนั้นแล้วสมาคมฯเตรียมที่จะทำป้ายสัญลักษณ์ให้ทราบว่าสถานบริการดังกล่าวเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ซึ่งในกรณีที่มีปัญหาสามารถประสานมาที่สมาคมฯเพื่อเป็นตัวกลางในการประสานงานเรื่องต่างๆได้รวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆจากสวทช. เพื่อนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมผู้สูงอายุซึ่งสมาคมฯจะหารือร่วมกับสมาชิกเพื่อมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

 

ติดเทคโนโลยีดูแลผู้สูงอายุเล็งขยายผล 200 แห่งทั่วประเทศ

ด้าน ดร.นพัฐกานต์ เกิดแสง  ฝ่ายวิชาการสมาคมฯในฐานะผู้บริหารบ้านทิพย์รดาเอลเดอรี่แคร์เปิดเผยว่างานวิจัยต่างๆเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะโดยปกติในสถานดูแลผู้สูงอายุมีสหสาขาวิชาชีพมาดูแลผู้สูงอายุร่วมกันอยู่ก็จริงแต่การเช็กเอกสารผู้ป่วยผู้สูงอายุแต่ละท่านระบบเอกสารเยอะและใช้เวลานานหรือการจะพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ต้องมีการเขียนบันทึกใบส่งตัวเพื่อจะบอกอาหารให้แพทย์ทราบหากมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสวทช. ในการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบและดึงข้อมูลออกมาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุผู้ดูแลและแพทย์ได้นอกจากนั้นแล้วระบบฉุกเฉินในการดูแลผู้สูงอายุที่สวทช. จะเชื่อมกับ1669 ที่สามารถรู้ตำแหน่งของสถานบริการผู้สูงอายุได้ทันทีก็คิดว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อยู่ประจำในสถานดูแลผู้สูอายุได้อย่างทันท่วงที