บ้านสร้างมลพิษ 60% “เสนา” เดินหน้าความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว”

04 ธ.ค. 2567 | 16:02 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ธ.ค. 2567 | 16:13 น.

“เสนา” เดินหน้าสู่ความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว” ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่รักษ์โลก “ที่อยู่อาศัย” ที่เป็นตัวการก่อมลภาวะมากสุด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 60% ของทั้งโลก

“เสนา”  บิ๊กเนมอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นหนึ่งในผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าที่มีความชัดเจนในเรื่องของการขับเคลื่อนธุรกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยประกาศตัวขอเป็นแบรนด์อะแวร์เนสเรื่องเกี่ยวกับกรีนบริษัทแรกๆ ของวงการที่อยู่อาศัยเมืองไทย สำหรับ “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” บนโจทย์ธุรกิจใหม่ท่ามกลางกระแส Social Challenge ในประเด็น “ที่อยู่อาศัย” ที่เป็นตัวการก่อมลภาวะมากสุด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 60% ของทั้งโลก 

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แสดงวิสัยทัศน์ “ที่อยู่อาศัยสีเขียว” ภายในงาน เวทีสู่อนาคตที่ยั่งยืน Sustainability Forum 2025 โดยกรุงเทพธุรกิจ ฉายภาพถึงความสำคัญของ “สิ่งแวดล้อม” ที่เหล่าธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

บ้านสร้างมลพิษ 60% “เสนา” เดินหน้าความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว”

ผศ.ดร.เกษรา กล่าวว่า เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ไซต์ก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปกว่า 30 แห่ง  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและกระตุ้นให้บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน

“โดยประสบการณ์จากน้ำท่วมทำให้ผู้บริหารของเสนาตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเริ่มมีการดำเนินการต่างๆ เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้านและการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน การเริ่มต้นนี้เป็นการตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต”

บ้านสร้างมลพิษ 60% “เสนา” เดินหน้าความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว” บ้านสร้างมลพิษ 60% “เสนา” เดินหน้าความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว”

การเปลี่ยนก่อนที่จะถูกเปลี่ยนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเสนาดีเวลลอปเม้นท์ได้เริ่มสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนขึ้นมาเป็นรายแรกๆ แม้จะมาพร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม เพราะมองว่าในระยะยาว ทุกคนจำเป็นต้องช่วยกันรักษ์โลก ขณะที่ระยะสั้นธุรกิจเองก็ต้องเดินต่อให้รอดเช่นเดียวกัน 

กว่า 110 โครงการเสนา ย้ำคอนโดมิเนียมสำหรับคนใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันนี้ องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การมีกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เป็นเอกภาพ จะช่วยผลักดันให้ภาคธุรกิจทุกแห่งดำเนินงานตามหลักการความยั่งยืนได้อย่างจริงจังและเท่าเทียมกัน

"บริษัทของเราเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนเป็นอย่างมาก โดยนำหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"

บ้านสร้างมลพิษ 60% “เสนา” เดินหน้าความยั่งยืน ชูที่อยู่อาศัย “สีเขียว”

ผศ.ดร.เกษรา  กล่าวเพิ่มเติมว่า เสนา มีสินค้าเป็นที่อยู่อาศัย ความยั่งยืนที่ส่งมอบไปยังผู้อยู่อาศัยได้คือ “ที่อยู่อาศัยสีเขียว”เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เสนามีโครงการทั้งหมด 110 โครงการ ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนระดับกลางค่อยไประดับบน ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 7-8 หมื่นบาท บาทต่อเดือน โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการก่อสร้างและการออกแบบอาคาร และโจทย์สำคัญคือผู้อยู่อาศัยต้องไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อรักษ์โลก

ความท้าทายและโอกาสของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

แม้ว่าบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายแห่งจะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีคำถามจากผู้บริโภคว่า บ้านพักอาศัยเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 60% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก แล้วคนทั่วไปจะสามารถมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

เสนา มองเห็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เชื่อว่าการสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง ไปจนถึงการบริหารจัดการโครงการ  ผศ.ดร.เกษรา กล่าวทิ้งท้าย