ราคาน้ำมันดีเซลล่าสุดขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 32.94 บาทต่อลิตร หลังจากที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ประเภทน้ำมันดีเซลเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเกิน 30 บาทต่อลิตรได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ จากมติของ กบน. ส่งผลทำให้บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก หรือโออาร์ (OR) และบมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลแล้ว 6 ครั้ง ประกอบด้วย
การปรับขึ้นดังกล่าวได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยข้อมูลจากสำนักงานกองทุนน้ำมัน (สนพ.) ระบุว่า น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันที่ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ใช้กับเครื่องจักรในโรงงาน รวมถึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ทั้งรถบรรทุกสินค้า และรถโดยสาร มีผลให้ต้นทุนสินค้าและการเดินทางเพิ่มขึ้น และจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับเหตุผลที่ราคาน้ำมันดีเซลต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจาก กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องแบกรับมากเกินไป จนมีหนี้สะสมทะลุหลักแสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดวันที่ 16 มิ.ย. 67 ติดลบอยู่ที่ 110,711 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมันติดลบ 63,096 และบัญชี LPG ติดลบ 47,615 ล้านบาท
ขณะที่รัฐบาลเองก่อนหน้านี้ได้ใช้มาตรการลดภาษสรรพสามิตน้ำมันดีเซลมาแล้วทั้งหมด 9 ครั้ง เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลเอาไว้ไม่ให้เกิน 30 บาท โดยรวมแล้วใช้เวลาประมาณ 1 ปี 11 เดือน ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปเกือบ 1.8 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
โดยสรุปแล้วรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อตรึงราคาให้ไม่เกิน 30 บาทไปทั้งหมด 23 เดือน รวมเป็นเงิน 178,100 ล้านบาท
สำหรับสถิติการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม – ธันวาคม 2566 จากกรมธุรกิจพลังงาน พบว่า เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 68.91 ล้านลิตรต่อวัน
ส่วนการใช้น้้ามันกลุ่มดีเซล เดือนมกราคม - มีนาคม 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 71.12 ล้านลิตรต่อวัน
นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวกับฐานเศรษฐกิจว่า ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันดีเซลต่อวันประมาณ 60 ล้านลิตร โดยล่าสุดมีรถบรรทุกที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกประมาณ 1.4 ล้านคัน
ส่วนรถกะบะ หรือปิกอัพมีอยู่อีกประมาณเกิน 1 แสนคัน ทั้งที่เป็นชาวสวน และชาวไร่
สำหรับราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่นปัจจุบัน เป็นดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง