“หัวเว่ย”ชี้ 3 ปัจจัยเร่งองค์กรมุ่งสู่ “กรีนเทคโนโลยี”

20 ธ.ค. 2566 | 14:14 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ธ.ค. 2566 | 14:52 น.

หัวเว่ย ชี้เทคโนโลยีดิจิทัล ถูกนำมาใช้ลดปล่อยคาร์บอน-สร้างพลังงานทดแทน ระบุ 3 ปัจจัย นโยบายรัฐ-เงินทุน-แรงกดดันธุรกิจ ตัวเร่งองค์กรปรับตัวมุ่งสู่ “กรีนเทคโนโลยี” มุ่งผลักดันเทคโนโลยีอัจฉริยะ เชื่อมต่อทุกคน ทุกบ้าน ทุกองค์กร เมือง ผ่าน”สมาร์ทซิตี้” สร้างความยั่งยืน

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวในงานสัมมนา Go Thailand 2024 : Green Economy - Landbridge โอกาสทอง?  จัดโดย “ฐานเศรษฐกิจ” ภายใต้หัวข้อ”Green Market Blue Ocean”ว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาประเทศและเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยระบุว่า ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นว่าเทคโนโลยีเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อผลักดันการลดคาร์บอนมากขึ้น

“หัวเว่ย”ชี้ 3 ปัจจัยเร่งองค์กรมุ่งสู่ “กรีนเทคโนโลยี”

ปัญหาการปล่อยคาร์บอนมาจากเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตพลังงาน ผลิตคาร์บอนมากสุด  รองลงมาอุตสาหกรรม และการขนส่ง   ถ้ามองเทคโนโลยีนั้นเทคโนโลยีผลิตพลังงาน 2-3 ปีที่ผ่านเห็นพัฒนาการที่ดี   มีการนำพลังงานทดแทนมาใช้งาน อย่างไรก็ตามถือว่ายังเป็นสัดส่วนที่น้อย

 

อย่างไรก็ตามจะเห็นภาครัฐ ทุกหน่วยงาน มุ่งไปทิศทางเดียวการคือการลดคาร์บอน โดยนำเทคโนโลยีมาใช้  กรีนเทคโนโลยี จะเริ่มคุ้นชินเทคโนโลยีผลิตพลังงาน  สมาร์ท PV กลายเป็นเทคโนโลยีหลัก  ในอุตสาหกรรม  โรงไฟฟ้า ไปถึงที่พักอาศัย  ที่มีการเติบโตอย่างมาก   และยังมีช่องว่างการเติบโตอีกมาก   ส่วนเทคโนโลยีสมาร์ทกริด  ช่วยให้การผลิตพลังงาน การจ่ายพลังงาน มีความชาญฉลาดมากขึ้น    และการนำดิจิทัลมาลดคาร์บอน   หรือนำเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างพลังงานใหม่

“หัวเว่ย”ชี้ 3 ปัจจัยเร่งองค์กรมุ่งสู่ “กรีนเทคโนโลยี”

สำหรับ  3 ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้ไปสู่การใช้งานกรีนเทคโนโลยี คือ  1. นโยบายรัฐ  ที่ถือเป็นเรื่องสำคัญสุด   ซึ่งนโยบายแต่ละประเทศใกล้เคียงกัน  โดยไทยอยู่เกณฑ์พัฒนาที่ดี   ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงการทำงาน และลดคาร์บอน  ของธุรกิจ  รวมถึงที่พักอาศัย   , 2.เงินทุน ที่กรีนฟันด์ รัฐ เอกชน กองทุน สนับสนุนการใช้งานกรีนเทคโนโลยี  และ  3.แรงกดดันทางธุรกิจ  ที่บังคับให้ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

สื่งที่น่าสนใจ  คือ  เทคโนโลยีดิจิทัล มีส่วนสร้างคาร์บอน แต่มีสัดส่วนที่น้อย เพียง   2%   แต่มีส่วนช่วยลดคาร์บอน ให้ภาคการผลิต 15-20%  โดยถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยลดคาร์บอนไปแล้ว 1,2 หมื่นตัน   สิ่งที่สำคัญคือ  เราจะได้เห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้นอีกมากมาย   โดยหัวเว่ย ใช้การลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีราว   23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณแสนล้านบาท     โดยมีเทคโนโลยี  5  ด้านเทเลคอม  คลาวด์   เครือข่ายหรือ เน็ตเวิร์ก   เทคโนโลยีพลังงาน  คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์   ที่มีการปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อลดใช้พลัง ลดการปล่อยคาร์บอน 

โดย หัวเว่ย ได้ลงทุนไปกับดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย 3 แห่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียว (Green Data Center) ที่สามารถให้บริการในประสิทธิภาพสูงและสร้างคาร์บอนต่ำ   โดยคลาวด์ของหัวเว่ยยังเป็นกลไกที่จะช่วยองค์ต่างๆในไทยลดการปล่อยคาร์บอนลงได้  นอกจากนี้หัวเว่ยร่วมมือกับสถาบันการเงินอย่าง Kbank เพื่อผลักดันแพ็กเกจการเงินให้กับภาคครัวเรือนในการเข้าถึง Smart PV ซึ่งจนถึงทุกวันนี้เรามีส่วนช่วยลดการปล่อยคาร์บอนลงไปได้แล้วกว่า 265,000 ตัน หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 33 ล้านต้น

ดร.ชวพล กล่าวต่อไปว่าหัวเว่ย ไม่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ลงทุนพัฒนาทักษะดิจิทัล ผ่านภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา   เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งขึ้นมาในไทย    โดยที่ผ่านมาได้พัฒนาทักษะ ด้าน  Smart PV ไห้กับพาร์ทเนอร์ ไปแล้ว 500 ราย  เพื่อช่วยขยายการติดตั้ง  Smart PV  ให้กับบ้านเรือนต่างๆ   โดยเร็วๆ นี้จะเห็น Smart PV วางจำหน่ายในรีเทลช้อปของหัวเว่ย

 นอกจากนี้หัวเว่ย ยังมองว่าเทคโนโลยีดิจิทัล ยังมีบทบาทในการนำพลังงานที่ผลิตขึ้นได้ไปใช้งานกับส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากยานยนต์ หรือโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นในระดับองค์กร เมือง หรือ ครัวเรือนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ซึ่ง ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเมืองอัจฉริยะ ที่หัวเว่ย ต้องการผลักดันเทคโนโลยีอัจฉริยะ ให้เข้าสู่ทุกคน ทุกบ้าน ทุกองค์กร ให้เชื่อมต่อถึงกันอย่างยั่งยืน