ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

17 ธ.ค. 2566 | 16:00 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ธ.ค. 2566 | 10:49 น.

ปี 67 “เอลนีโญ” กำลังแรง เปิดแผน “กอนช” ชงรับมือบริหารน้ำ 3.37 แสนล้าน สู้ศึก พร้อมเปิดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ขาดน้ำอุปโภคบริโภค

ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 2566 และจะยาวไปถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 และจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) และคาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญ อาจส่งผลให้ในบางพื้นที่จะประสบกับสภาวะขาดแคลนนํ้าและปริมาณนํ้าต้นทุนอาจจะมีไม่เพียงพอให้ใช้ในระยะยาว

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

โดยช่วงฤดูแล้งนี้ได้มีการประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนนํ้าการเกษตรนอกเขตชลประทาน ซึ่งในปีนี้การบริหารจัดการนํ้าในฤดูแล้ง ภายใต้การบริหารของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ (กนช.) ได้มี 9 มาตรการรับมือในช่วงไทยเข้าสู่ภาวะเอลนีโญรุนแรงมากขึ้น

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการนํ้าแห่งชาติ (กอนช.) ถึงการวางแผนบริหารจัดการนํ้า รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

ดัน 9 มาตรการสู้ “เอลนีโญ”

ดร.สุรสีห์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาไม่มีพายุเข้าประเทศไทย แต่มีอิทธิพลร่องความกดอากาศตํ่าหรือร่องมรสุม พาดผ่านบ่อยมากทำให้มีฝนตกหนัก หลายพื้นที่ประสบภัยนํ้าท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ปริมาณนํ้าในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ที่มีอยู่ในเกณฑ์น้อยมีประมาณ 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์, เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และเขื่อนคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่สภาวะเอลนีโญรุนแรงมากขึ้น ส่งผลทำให้อุณหภูมิในประเทศสูงขึ้น ทั้งที่ในช่วงนี้อากาศควรที่จะหนาวเย็น โดย สทนช. เสนอมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 ใน 9 มาตรการไปยัง กอนช. และผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว เพื่อให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปขับเคลื่อนแผนงานแบบบูรณาการเพื่อจะดูแลประชาชนในฤดูแล้ง

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

ประกอบด้วยแผนงาน 3 ด้านได้แก่ ด้านนํ้าต้นทุน (supply) ด้านความต้องการใช้นํ้า (Demand) และ ด้านการบริหารจัดการ (Management) รวม 9 มาตรการ เช่น การเฝ้าระวังและเตรียมการจัดการแหล่งนํ้าสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังการขาดนํ้า ปฏิบัติการเติมนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดแผนจัดสรรนํ้าและพื้นที่เพาะปลูก บริการจัดการให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้นํ้าที่คณะกรรมการลุ่มนํ้ากำหนด สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการนํ้าชุมชน ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้า เป็นต้น

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

เปิดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทั่วไทย

ดร.สุรสีห์ กล่าวอีกว่า เป็นประจำทุกปี จะมีคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงแล้ง จากปริมาณฝนในพื้นที่น้อย โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ได้มีการชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง แยกเป็นรายเดือนยาวไปถึงเดือนพฤษภาคม 2567 ดังนี้

 

"เดือนธันวาคม"  มีพื้นที่เสี่ยง 41 จังหวัด 347 อำเภอ 1,756 ตำบล  ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่,เชียงราย, เพชรบูรณ์,เลย,แพร่, แม่ฮ่องสอน,กาญจนบุรี, กาฬสินธ์ุ,กำแพงเพชร, ขอนแก่น,ชัยนาท ,ชัยภูมิ,ตาก,นครพนม, นครราชสีมา,นครสวรรค์, น่าน,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,พะเยา, พิจิตร,พิษณุโลก, มหาสารคาม, มุกดาหาร,ยโสธร,ร้อยเอ็ด,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สระบุรี,สุโขทัย,สุรินทร์,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี และอุบลราชธานี

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

 

"เดือนมกราคม"  มีพื้นที่เสี่ยง 50 จังหวัด 453 อำเภอ 2,369 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่,เชียงราย,เพชรบุรี, เพชรบูรณ์,เลย,แพร่, แม่ฮ่องสอน, กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ตราด,ตาก,นครพนม,นครราชสีมา,นครสวรรค์,น่าน,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี,พะเยา,พิจิตร,พิษณุโลก,มหาสารคาม,มุกดาหาร,ยโสธร,ร้อยเอ็ด,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สระแก้ว, สระบุรี ,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุรินทร์,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี และอุบลราชธานี

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

 

"เดือนกุมภาพันธ์" มีพื้นที่เสี่ยง 56 จังหวัด 482 อำเภอ 2,474 ตำบล ได้แก่  จังหวัดเชียงใหม่,เชียงราย,เพชรบุรี, เพชรบูรณ์,เลย,แพร่, แม่ฮ่องสอน, กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี ,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ, ตรัง,ตาก,นครพนม, นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช ,นครสวรรค์ ,น่าน , บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี,พะเยา,พังงา,พัทลุงพิจิตร,พิษณุโลก,มหาสารคาม ,มุกดาหาร,ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ราชบุรี ,ลพบุรี,ลำปาง, ลำพูน,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สตูล,สระแก้ว,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี และสระบุรี

 

"เดือนมีนาคม" มีพื้นที่เสี่ยง 32 จังหวัด 232 อำเภอ 1,043 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่,เชียงราย,เพชรบูรณ์, เลย,แพร่,แม่ฮ่องสอน, กระบี่, กาญจนบุรี,กำแพงเพชร,ชัยนาท,ตาก,นครราชสีมา,นครสวรรค์,น่าน,บุรีรัมย์,พะเยา,พิจิตร,พิษณุโลก,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,ศรีสะเกษ,สระบุรี,สุโขทัย, สุพรรณบุรี,สุรินทร์,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี และอุบลราชธานี  

 

"เดือนเมษายน" มีพื้นที่เสี่ยง 9 จังหวัด 49 อำเภอ 196 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่,เพชรบูรณ์,แพร่,แม่ฮ่องสอน,ตาก,พิจิตร,พิษณุโลก,สุโขทัย และอุตรดิตถ์ และ "เดือนพฤษภาคม" ไม่มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ดังนั้นเพื่อให้ทุกหน่วยงานติดตามและเฝ้าระวังในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจะได้ช่วยเหลือประชาชนคู่ขนานกับการสร้างการรับรู้ให้กับเครือข่ายภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

 

สำหรับในปีนี้ ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 สภาพนํ้าในอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรนํ้าในอ่างฯ 60,546 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 79 ปริมาตรนํ้าใช้การได้ 36,604 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 70 ปริมาตรนํ้าในอ่างฯ เทียบกับปี 2565 (63,269 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83) น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 2,723 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณนํ้าที่ไหลลงอ่าง 46.60 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณนํ้าระบาย 122.26 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับนํ้า ได้อีก 15,833 ล้าน ลบ.ม.

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

 

“ทาง สทนช.จะประสานหน่วยงานและประเมินทุกสัปดาห์ว่า จังหวัดไหน อำเภอใด ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ก็จะให้หน่วยงานเข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2567 “เอลนีโญ” จะไปสู่ค่าความเป็นกลางอาจจะทำให้ฤดูฝนมาล่าช้า เช่นเดียวกับในปีนี้ ต้องจับตาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเข้าสู่ภาวะลานีญา หรือจะไปสู่เอลนีโญ มีความเป็นไปได้ทั้งสองทาง แต่ทาง สนทช.ก็ไม่ประมาท ได้มีการสำรองนํ้าไว้ในช่วงฤดูฝนของปีหน้าไว้แล้ว”

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

 

อย่างไรก็ดีความท้าทายในการบริหารจัดการนํ้า 2 ปี สทนช.มีการประเมินบริหารแผนนํ้าไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ให้มีปริมาณนํ้าต้นทุนให้เหลือมากที่สุด โดยเฉพาะกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะเติมนํ้าในเขื่อนให้มีนํ้าเพิ่มขึ้นอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยภาพรวมสถานการณ์นํ้าในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง และ สทนช. เป็นหน่วยงานที่ทำงานเชิงรุก

 

ฝ่าวิกฤต “เอลนีโญ” ปี 67 ชงของบบริหารน้ำ 3.37 แสนล้านสู้ศึก!

ดังนั้นการออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิด สอดรับกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า 20 ปี โดยในปี 2567 มีจำนวน 63,614 โครงการ วงเงิน 3.37 แสนล้านบาท ผ่านระบบ Thai Water Plan ตามแผน กลุ่ม Y1 ภายในกรอบวงเงิน รวมจำนวน 26,521 โครงการ วงเงิน 184,530 ล้านบาท และแผน กลุ่ม Y2 ภายในกรอบวงเงิน รวมจำนวน 37,093 โครงการ วงเงิน 153,206 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะอนุมัติตามคำขอหรือไม่

 

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,949 ฉบับวันที่ 17-20 ธันวาคม พ.ศ. 2566