ถอดบทเรียน "ถั่วเหลืองอเมริกา" คาร์บอนต่ำกว่าคู่แข่ง 10 เท่า

15 ธ.ค. 2566 | 10:30 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ธ.ค. 2566 | 14:55 น.

“พรศิลป์” นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดผลการศึกษา "ถั่วเหลืองอเมริกา ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 10 เท่า พร้อมถอดบทเรียน "ถั่วเหลืองอเมริกา" เดินหน้าสร้างวัตถุดิบยั่งยืน

รายงานข่าว(15 ธ.ค. 2566) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (TFMA) ได้เดินหน้าสร้างวัตถุดิบยั่งยืน เพื่อยกระดับการพัฒนาระบบจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศไทยให้ทัดเทียมสากล โดยถอดบทเรียนการผลิตถั่วเหลืองยั่งยืนจากสหรัฐอเมริกา หลังตลาดโลกต้องการสินค้า ถั่วเหลืองที่ผลิตอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และไห้ความสำคัญกับการจัดหาอาหารปลอดภัย

ถอดบทเรียน \"ถั่วเหลืองอเมริกา\"  คาร์บอนต่ำกว่าคู่แข่ง 10 เท่า

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยในงานสัมมนา "เจาะลึกกลยุทธ์ปฏิบัติการที่ยั่งยืน : ระดมความคิดจากผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์" ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงด็อก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) ความว่า 

ความร่วมมือในครั้งนี้ ตอกย้ำว่าผู้ประกอบการอาหารสัตว์ของไทยมีความพร้อมและขานรับกระแสโลกที่ต้องการการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงภาคปศุสัตว์ที่กำลังมุ่งสู่ปศุสัตว์สีเขียว เชื่อว่ากลยุทธ์ที่ได้จากเวทีสัมมนาไนวันนี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ของไทยชนิดอื่น ๆ ได้

ถอดบทเรียน \"ถั่วเหลืองอเมริกา\"  คาร์บอนต่ำกว่าคู่แข่ง 10 เท่า

นายพรศิลป์กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตถั่วเหลืองของประเทศสหรัฐ เมื่อเทียบต่อกิโลกรัมแล้ว ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 10 เท่า ถั่วเหลืองของสหรัฐฯ จึงมีข้อได้เปรียบต้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคู่แข่ง ขณะที่ไทยมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองปีละเกือบ 6 ล้านตัน เชื่อว่าการสั่งซื้อหรือนำเข้าวัตถุติบในอนาคต ต้องมองความเป็นมาของวัตถุดิบ ก่อนคิดถึงเรื่องราคา ถั่วเหลืองจึงเป็นตันแบบที่ดีที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดหาวัตถุดิบชนิดอื่นๆต่อไป ที่สำคัญคือประเทศไทยต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ และต้องทำงานร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต

 

"แม้ถั่วเหลืองจะเป็นสินค้านำเข้า ก็ถือเป็นหนึ่งในข้อต่อของห่วงโซ่ปศุสัตว์ที่ต้องให้ความสำคัญ ขณะที่วัตถุดิบหลักภายในประเทศอย่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ข้าว และปลาปัน ก็อยู่ในแผนการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเช่นกัน ทั้งหมดก็เพื่อให้อาหารส่งออกจากประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ก้าวข้ามอุปสรรคด้านการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ทันการณ์" นายพรศิลป์ กล่าว