นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีกำหนดการเปิดบ้านพิบูลธรรม เพื่อพบปะสนทนากับสื่อมวลชนวันนี้ (18 ต.ค.66) ภายใต้หัวข้อ "นโยบายกระทรวงพลังงาน เพื่อความมั่นคง เป็นธรรม และยั่งยืน สู่คนไทยทุกคน" โดยมีผู้บริหารกระทรวงฯร่วมให้ข้อมูล
สำหรับการพบปะสื่อมวลชนดังกล่าว ถือเป็นการครบรอบการทำงาน 1 เดือนภายใต้ตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของนายพีระพันธุ์
ทั้งนี้ ผลงานของนายพีระพันธุ์ที่ผ่านมา ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะควบคุมการค่าการตลาดน้ำมันให้มีราคาไม่เกิน 2 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของการศึกษา
อีกทั้งเตรียมหามาตรการลดราคาน้ำมันเบนซินภาพรวมที่ไม่ใช่แบบเฉพาะกลุ่ม โดยล่าสุดระบุว่าจะลดราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ให้ได้ 2.50 บาทก่อนปีใหม่
นายพีระพันธุ์นั้น เลือกที่จะนั่งทำงานที่บ้านพิบูลธรรมแทนที่จะนั่งทำงานที่กระทรวงพลังงาน ชั้น 25 อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
"บ้านพิบูลธรรม" เดิมชื่อว่า บ้านนนที สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงปี 2240 จนในรัชสมัยต่อมารัชกาลที่ 6 พระราชทานเงินเพื่อก่อสร้างบ้านหลังนี้ให้มีอาคารเพิ่มเติม จะเห็นว่าสไตล์การออกแบบส่วนใหญ่มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือสถาปนิกชาวอิตาลี เนื่องจากเป็นยุคที่ไทยกำลังเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในหลายๆ ด้าน
จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2484 บ้านนนทีถูกระเบิดเสียหายอย่างหนักเกินกว่าจะซ่อมแซม เจ้าของบ้านจึงขายให้รัฐบาล ช่วงเวลานั้นจอมพล ป. พิบูลสงครามได้อนุมัติให้ซื้อไว้ในปี พ.ศ. 2498 และปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นสถานที่รับรองแขกเมือง และขนานนามใหม่ว่า ‘บ้านพิบูลธรรม’
อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 บ้านหลังนี้ได้รับอนุมัติให้เป็นที่ทำการของการพลังงานแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สังกัดกระทรวงพลังงานจนถึงปัจจุบัน
จึงนับเป็นบ้านเก่าที่ยังคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และยังเก็บรักษาร่องรอยทางสถาปัตยกรรมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่บ้านหลังนี้ได้นายช่างสถาปนิกชาวอิตาลีที่รับราชการในไทยมาช่วยออกแบบ จึงได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและมีศิลปกรรมงดงามล้ำค่าซ่อนตัวอยู่มากมาย
อาคารเก่าบ้านพิบูลธรรมทั้งสองหลัง และศาลาไม้อีกหลัง ก็คือ อาคารสำนักงานเลขานุการกรมซึ่งอยู่ด้านหน้า และอาคารกองควบคุมและส่งเสริมพลังงานตั้งเยื้องไปด้านหลัง ส่วนศาลาไม้อยู่ด้านขวาของอาคารสำนักเลขานุการกรม และด้านหน้าของอาคารกองควบคุมและส่งเสริมพลังงาน
จิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์"บ้านพิบูลธรรม"งานฝีมือที่หาชมได้ยากอาคารทั้งสองหลังมีความงดงามทั้งด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตกแต่งภายในด้วยลายไม้แกะสลักตามเพดานและผนังห้อง ประตู และหน้าต่าง
ภายในห้องโถงอาคารหน้าส่วนกลาง บนเพดานประดับภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกเรื่องรามเกียรติ์ โถงนอกเป็นจิตรกรรมรูปรามสูรเมขลา ส่วนโถงในรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดากำลังต่อสู้กับนกสดายุ
เพดานรอบๆ ภาพเขียนประดับด้วยหูช้างไม้สลักเรียงรายตลอด ถัดลงมาเป็นภาพจิตรกรรมเถาไม้ดอกสีสดสวย ผนังจากระดับขอบประตูบนลงมาประดับไม้สลักลาย ตามขอบสลักลายเถาผลไม้ เสาไม้กลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมสลักลาย พื้นปูหินอ่อน ปัจจุบันห้องโถงนี้ใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรอง
ห้องด้านหน้าทางปีกซ้ายของอาคารหลังนี้ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นห้องทำงาน มีภาพจิตรกรรมแบบเดียวกันประดับที่ฝาผนังด้านขวา เป็นภาพตอนพระรามตามกวาง ส่วนเพดานห้องเป็นภาพ fresco รูปหมู่กามเทพเด็กแบบฝรั่ง เขียนโดยชาวอิตาลีชื่อ Carlo Rigoli
บ้านพิบูลธรรมได้รับการบูรณะในช่วงปี พ.ศ. 2546-2547 โดยกรมศิลปากร ทำให้อาคารยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
เรียกได้ว่า บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านสไตล์โคโลเนียลหลังนี้ได้หลอมรวมความเป็นไทยเข้ากับอิทธิพลอันศิวิไลซ์ของตะวันตกไว้อย่างลงตัว โดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นสมุดบันทึกความรุ่งโรจน์ของพระนครในอดีต สะท้อนให้เห็นเรื่องราวประวัติศาสตร์อันรุ่มรวยที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง