"กฟผ." เร่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนรับ PDP ใหม่มุ่งลดคาร์บอน

05 ก.ย. 2566 | 12:04 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ก.ย. 2566 | 12:09 น.
582

"กฟผ." เร่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนรับ PDP ใหม่มุ่งลดคาร์บอน เดินหน้าร่วมมือ พร้อมสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเปลี่ยนผ่านพลังงาน เผยทำ Grid Modernization รองรับพลังงานหมุนเวียนที่ผันผวน

นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยในงาน ROAD TO  NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ ซึ่งจัดโดยฐานดิจิทัลรวมถึงบริษัทในเครือ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ว่า กฟผ.กำลังดำเนินการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน กฟผ. ได้เริ่มดำเนินการสนับสนุนแนวทางเพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยร่วมมือและพยายามสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) 

ทั้งนี้ การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปในแนวทางดังกล่าวจะมีทั้ง ผู้ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือผลิตเพื่อส่งออกมาขาย และภาคเอกชนที่ผลิตเพื่อขายไฟฟ้า โดยจะแตกต่างจากโรงไฟฟ้าแบบเดิม หรือแหล่งผลิตแบบเดิมที่ควบคุมได้ 

ดังนั้น กฟผ.จึงต้องทำระบบไฟฟ้าให้รองรับ ซึ่งอยู่ในมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่เรียกว่า  Grid Modernization สำหรับรองรับพลังงานหมุนเวียนที่ผันผวน ทั้งจากลม แสงแดด พลังงานชีวมวล (Biomass) และพลังงานชีวภาพ (Biogas)  โดยร่วมมือกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแผนในระยะสั้น

"กฟผ." เร่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนรับ PDP ใหม่มุ่งลดคาร์บอน

ส่วนแผนในระยะกลาง คือการใช้ไฮโดรเจนที่มีสี ซึ่งอาจจะเป็นสีเขียวที่มาจากพลังงานหมุนเวียน หรือสีฟ้า ซึ่งเป็นการนำก๊าซธรรมชาติมาทำการแยก และนำส่วนที่ก่อนให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (GHC) อัดลงดิน โดยจะมาควบคู่กับการดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) 

"สิ่งดังกล่าวเหล่านี้คือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น โดยในอนาคตประเทศไทยมีแผนที่จะผสมไฮโดรเจนใช้ในโรงไฟฟ้า)

ขณะที่ระยะยาว กฟผ. เริ่มมีการศึกษาเรื่องของดวงอาทิตย์เทียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ปลดปล่อยคาร์บอน  โดยทำร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

นอกจากนี้ กฟผ.ยังได้ดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยพยายามสร้างโครงข่ายยานยต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ในรูปแบบของการสร้างชาร์ตอีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเดินทางไปได้ด้วยความสะดวกสบาย และเกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานรถอีวี 

"ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ดำเนินการมาทั้งหมด ไม่ว่าจะอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะทำให้คาร์บอนเป็นศูนย์ได้ โดยสุดท้ายต้องนำคาร์บอนดูดทรัพย์ลงไปด้วยวิธีการกักเก็บ ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะสำเร็จ  ซึ่งสิ่งที่ทำได้ก่อนก็คือการใช้ป่าดูดทรัพย์ ซึ่งกฟผ.ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพันธมิตรอีกหลายหน่วยงาน และภาคเอกชน แม้จะดูดซับไม่ได้ทั้งหมดแต่ก็ยังถือว่าได้เริ่มต้น ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านจากฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียน"