zero-carbon

"ลอนจิ"ผุดนวัตกรรมแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานตอบโจทย์ลดคาร์บอน

    "ลอนจิ"ผุดนวัตกรรมแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานตอบโจทย์ลดคาร์บอน รองรับภาครัฐและเอกชน รุก 5 กลุ่มหลัก ทั้งเวเฟอร์โมโนคริสตัลไลน์ เซลล์และโมดูล โซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายการผลิต สถานีผลิตไฟฟ้าและระบบพลังงานไฮโดรเจน

ชิน ลี ผู้อำนวยการลอนจิประจำภูมิภาคเอเชียใต้และคาบสมุทร กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภค บริษัท ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี จำกัด (ลอนจิ) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมนำเสนอนวัตกรรม PV หรือวัสดุแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางด้าน ESG เป็นอย่างดี โดยเป็นโครงการริเริ่มเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science-Based Targets initiative หรือ SBTi) ตามแนวทางดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท 

รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม และช่วยขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคพลังงานของโลกอย่างจริงจัง ผลักดันให้โลกใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและก้าวเข้าสู่โหมดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

นำเสนอผลิตภัณฑ์เหนือระดับหลายชนิดและทุกชนิดได้รับการพัฒนาจากมุมมองที่สดใหม่ ซึ่งเน้นและครอบคลุมถึงประเทศไทย พร้อมกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของภาคพลังงานหมุนเวียนในไทยและเปลี่ยนแปลงให้ประเทศมีความก้าวหน้าและดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ลอนจิเตรียมความพร้อมด้วยการทำงานกับทีมงานท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า รวมถึงปรับแต่งบริการให้เข้ากับตลาดไทยให้มากที่สุด

หม่า เหมิง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคอินโดจีน ธุรกิจกำกับดูแลข้อมูลของลอนจิ กล่าวว่า บริษัทได้ดำเนินการสร้างสรรค์โซลาร์เซลล์สำหรับทุกตารางนิ้วของอาคารหรือ BIPV บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมผลิตไฟฟ้าอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลังคาสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ ,วัสดุก่อสร้างแบบสี ,พื้นที่ผลิต จัดเก็บและให้บริการเติมพลังงานแสงอาทิตย์แบบพีวี และระบบจัดเก็บพลังงานพีวีสำหรับครัวเรือนแบบอัจฉริยะ

ลอนจิผุดนวัตกรรมแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานตอบโจทย์ลดคาร์บอน

ส่วนผู้ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ก็จะมีระบบเปลี่ยนน้ำด่างให้เป็นพลังงานด้วยกระบวนการแยกอะตอมด้วยไฟฟ้าเพื่อปรับระดับต้นทุนไฮโดรเจน (LCOH) 

ด้านผู้ใช้งานครัวเรือน LONGi Sunflower ก็จะทำหน้าที่เป็นสถานีผลิตไฟฟ้าภายใต้รูปลักษณ์ของหลังคาพีวีแห่งโลกอนาคต

“บริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับนวัตกรรมเหล่านี้ให้กับตลาดอาเซียน รวมถึงประเทศไทย โดยนวัตกรรมของบริษัทได้เร่งการลดต้นทุนการผลิตพลังงานแบบปรับระดับ (Levelized Cost of Energy) ซีรีส์ Hi Mo ที่เปิดตัวไปมีโมดูลช่วยประหยัดพลังงานถึง 7 แบบ ส่วนซีรีส์ Hi-Mo 6 ที่มีแผงแบบ Explorer Scientist Guardian และ Artist ก็ช่วยลดต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกันเพราะแผงดังกล่าวผสานรวมเทคโนโลยีแบบ HPBC หรือ Hybrid Passivated Back Contact ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ"

ฟิโอนา โม ผู้อำนวยการลอนจิประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความสำคัญต่อกลยุทธ์การตลาดของบริษัท อีกทั้งยังมุ่งที่จะร่วมสนับสนุนนโยบายและแผนของประเทศไทยที่ต้องการจะมีความเป็นกลางทางคาร์บอน

ลอนจิผุดนวัตกรรมแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานตอบโจทย์ลดคาร์บอน
 
“ปัจจุบันในไทยบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เป็นสถานีผลิตพลังงานบนพื้นดินขนาดใหญ่ เหมาะกับโครงการใหญ่อย่างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และการใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำ”

อย่างไรก็ดี บริษัทยังมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับแพลตฟอร์มพลังงานสีเขียว ในปี 2565 บริษัททุ่มเงินมากถึง 7.141 พันล้านหยวนเพื่อการวิจัยพัฒนา โดยงบประมาณดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 5.54% ของรายได้บริษัทที่สูงถึง 128,998 ล้านหยวน (ราว 622,054,476,676 บาท) โดยผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในไทยจนถึงเดือนมิถุนายน 66 มีกำลังการผลิตรวมกว่า 1 กิกะวัตต์

"นวัตกรรมวัสดุแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน จะถูกนำเสนอในงาน ASEAN Sustainable Week 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์"