นายคมกฤษ ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย เผยว่า จากที่อำเภอเชียงคาน ของจังหวัดเลย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มีวัฒนธรรมริมโขง และมีบ้านไม้เก่าแก่อายุ 100 ปี สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 4-5 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นพันล้านต่อปี แต่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัยและความมั่นคงด้านพลังงาน
ดังนั้นจึงเห็นว่าเชียงคานควรเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และปรับทัศนียภาพให้สวยงาม โดยนำร่องให้เกิดระบบไฟฟ้า นำสายใต้ดินและหม้อแปลงไฟฟ้าลงดิน เพื่อให้เกิดความทันสมัย คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติมีความปลอดภัยจากอัคคีภัย ช่วยลดการก๊าซคาร์บอน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างเสถียรภาพจากสายไฟฟ้าลงดินมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศที่มีสายไฟบดบังหน้าร้านค้า หน้าบ้าน และสถานที่ท่องเที่ยว ดังนั้นระบบไฟฟ้าใต้ดิน “จุฬาโมเดล” จึงตอบโจทย์นวัตกรรมควบคู่วัฒนธรรม
นายประพันธ์ สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. /PEA) กล่าวว่า พร้อมหนุนเชียงคานจุฬาโมเดล โดยได้ส่งทีมงานของ กฟภ.ไปสำรวจและออกแบบ และสนับสนุนวิทยากรเรื่องเคเบิลใต้ดินถนนคนเดินเชียงคานให้กับสมาพันธ์วิศวกรอาเซียน (AFEO) 10 ประเทศ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นการนำเสนอเรื่องการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน การเพิ่มศักยภาพการเป็นเมือง Smart City Low Carbon Underground Cable ในการโชว์ศักยภาพการเป็นมหานครแห่งแรกในอาเซียน โครงการเชียงคาน จุฬาโมเดล Submersible Transformer
นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช รองผู้อำนวยการกองออกแบบระบบไฟฟ้า กฟภ. กล่าวว่า กฟภ. ชูโมเดลจุฬาฯ นำร่องหม้อแปลงใต้ดินที่เชียงคาน เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้ทันสมัย โดยใช้หม้อแปลงใต้ดินตอบโจทย์การพัฒนาเชียงคานสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน สร้างความทันสมัย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตที่สงบของผู้ที่อาศัยในท้องถิ่น
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานจะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลาย ๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน ดังนั้นการนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน จะช่วยแก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านอัคคีภัย สร้างความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุต่อประชาชนและพนักงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว (ค้าขาย) รองรับการเติมโตทางเศรษฐกิจ, ทัศนียภาพสวยงาม, ระบบไฟฟ้ามั่นคงมีเสถียรภาพ ลดค่าใช้จ่ายการตัดต้นไม้ ลดคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้ได้มากขึ้น
ดร.สมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษาโครงการ Chula Smart City กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการ Chula Smart City บริเวณสยามสแควร์ โดยนำสายไฟฟ้าลงดิน พร้อมหม้อแปลงใต้ดิน ทำให้ทัศนียภาพบริเวณดังกล่าว มีความสวยงามแปลกตาขึ้นมาก สร้างความปลอดภัยแก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา และยังเป็นจุดเช็คอินอีกแห่งของนักท่องเที่ยว
สำหรับ Submersible Transformer Low carbon ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง