เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

16 ส.ค. 2566 | 10:00 น.

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่การก้าวเดินของ “GPSC” รุกคืบตลาดไฟฟ้าสีเขียว ผนึกกลุ่มอวาด้า ชิงตลาดในอินเดีย 500 กิกะวัตต์ พิชิตเป้าหมาย Net Zero ในปี 2060

โลกแห่งพลังงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกให้ความสนใจ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุเป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 ขณะที่ธุรกิจก็หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เป็นภาพสะท้อนถึงแนวโน้มในอนาคตที่กำลังเปลี่ยนไปในโลกพลังงาน โดยเฉพาะ “พลังงานสะอาด” เป็นโจทย์ท้าทายของทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ “อินเดีย”

 

อินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ของโลก รองจากเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา จากการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของอินเดียในปี 2566 GDP จะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 6.1 และในปี พ.ศ.2567 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.8 ส่งผลให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจอินเดีย มีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปีงบประมาณ 2569 และเพิ่มเป็น 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2573  ขณะที่รายได้ต่อคนของอินเดียจะอยู่ที่ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ.2590-2591 โดยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ภาพมุมสูงเมือง delhi

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1.4 พันล้านคนมากที่สุดในโลก จากข้อมูลของ World Population Review การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตในประเทศ มุ่งเน้นพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านสินเชื่อส่วนบุคคล ความก้าวหน้าในนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายในประเทศ การลงทุนจากนานาชาติ ผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกบริการต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยให้เศรษฐกิจอินเดียก้าวขึ้นมาท้าทายมหาอำนาจโลก ขณะเดียวกันทั่วโลกต่างจับตาแผนดำเนินงานเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและสหรัฐฯ

“นายกรัฐมนตรีนาเรนทรา โมดี” แห่งอินเดีย ให้ความสำคัญกับขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตของอินเดียสู่แนวทางกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีความพยายามอย่างสูงในการเพิ่มพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน  ประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการปลูกป่า และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เฉพาะการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดแผนอย่างชัดเจน คาดว่ากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของอินเดียจะเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนปัจุบันร้อยละ 41 (170 GW) ของกำลังการผลิตทั้งหมด (415 GW) เป็นร้อยละ 85 (1,125 GW) ของกำลังการผลิตทั้งหมด (1,325 GW) ภายในปี พ.ศ.2590 

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

อินเดียได้พัฒนาระบบนิเวศที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับการซื้อ ขนส่ง และจำหน่ายไฟฟ้าโดยทั่วไปในประเทศ มีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในประเทศ โดยมีบริษัทจำหน่ายไฟฟ้า (Discoms) 4 ประเภท ประกอบด้วย

  1. บริษัทจำหน่ายไฟฟ้าที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ 100%
  2. บริษัทร่วมทุนกับรัฐท้องถิ่น สัดส่วนการถือหุ้นของเอกชนและรัฐ 51:49
  3. บริษัทจำหน่ายไฟฟ้าที่เอกชนเป็นเจ้าของ 100%
  4. การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นเเฟรนไชส์ของบริษํทจำหน่ายไฟฟ้าที่เป็นของรัฐ

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

ขณะที่ภาคการจัดจำหน่ายและการค้าปลีก เป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญที่สุดในห่วงโซ่คุณค่า โดยภาคส่วนนี้ทำหน้าที่ประสานกับผู้ใช้ไฟฟ้าปลายทางและสร้างรายได้ ส่วนการจำหน่ายไฟฟ้าของอินเดียให้บริการแก่ผู้บริโภค 250 ล้านคนโดยประมาณและมีระบบจ่ายไฟฟ้าประมาณ 73 แห่ง แม้จะอินเดียจะเคยเป็นประเทศที่ขาดแคลนไฟฟ้า แต่ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้น

ข้อมูลของการไฟฟ้ากลางของอินเดียแสดงให้เห็นว่าพลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งรวมถึง พลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 25.3 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของอินเดียในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.6 เมื่อ 3 ปีก่อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนยังคงจ่ายไฟได้ร้อยละ 73 ของไฟฟ้าที่ใช้ ลดลงจากประมาณร้อยละ 75 ในปี พ.ศ.2562 และสิ่งที่เร็วกว่าคาดการณ์สะท้อนผ่านอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอินเดียลดลง 1 ใน 3 ในรอบ 14 ปี โดยลดลงร้อยละ 33 ใน 14 ปี เป็นการลดลงตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตพลังงานหมุนเวียนและพื้นที่ป่า

เร็วกว่าคาด “อินเดีย” ลดก๊าซเรือนกระจกลง 1 ใน 3 รอบ 14 ปี สู่เป้าสหประชาชาติ

ล่าสุดอินเดียมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานสะอาดสูงถึง 500 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 280 GW พร้อมตั้งเป้าผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 50% เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ.2613 (ค.ศ.2070) เส้นทางที่ยาวไกลกับสิ่งที่อินเดียกำลังทำ

เป้าหมายนี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบว่าที่ผ่านมาอินเดียได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งลดการปลดปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะการลดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและหันมาลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น

GPSC ชิงส่วนแบ่งตลาดไฟสีเขียว 500 GW ผงาดขึ้นแท่น Top 3 อาเซียน

ความพยายามของอินเดียในการก้าวขึ้นสู่การสร้างพลังงานสะอาด ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะ “GPSC” หรือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นการขยับไปอีกขั้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เร่งตัว เพื่อเป้าหมายการเป็น บริษัทนวัตกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยตลาดอินเดียก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุน GPSC ก้าวสู่ผู้นำตลาดพลังงานหมุนเวียนของไทยอีกด้วย ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม GPSC จึงตัดสินใจเลือกอินเดียเป็นบ้านหลังที่สอง

“ด้วยตลาดพลังงานสะอาด และนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของอินเดีย เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2613 และการโครงสร้างประชากร ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหัวประมาณ 1.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง เมื่อเทียบกับปริมาณเฉลี่ยของประชากรโลกที่ 3.4 เมกะวัตต์ชั่วโมง ตลาดอินเดียมีส่วนสำคัญช่วยหนุนการเติบโตของ GPSC การลงทุนครั้งนี้ใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน  เพราะเล็งเห็นโอกาสต่างๆ รวมทั้งพันธมิตรสำคัญซึ่งก็คือวาด้ากรุ๊ป และถึงแม้เราจะมีแพสชั่นเป็นอันดับ 3 แต่ทุกคนมีเป้าหมายเพิ่มจิกะวัตต์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราจะหยุดไม่ได้”  นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. กล่าว

นางรสยา เธียรวรรณ

การลงทุนในอินเดีย GRSC ถือหุ้น 100% ร่วมเป็นพันธมิตรกับ บริษัท อวาด้า เวนเจอร์ ไพรเวท จำกัด (Avaada Venture Private Limited) หรือ AVPL เพื่อลงทุนใน บริษัท อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด (Avaada Energy Private Limited) หรือ AEPL  บริษัทในกลุ่มอวาด้า (Avaada Group)  ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำในประเทศอินเดีย โดย GRSC เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 42.93% คิดเป็นเงินลงทุนมูลค่า 779 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2564

 AEPL เป็นบริษัทในอวาด้ากรุ๊ป (Avaada Group) ที่มีส่วนแบ่งตลาดพลังงานในอินเดียราว 10-15% หรือคิดเป็นกำลังผลิตที่ 7 กิกะวัตต์ ตีคู่กับบริษัทของภาครัฐ และยังได้ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจใน AEPL เพื่อให้ครอบคลุมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) ซึ่งปัจจุบัน AEPL มีการเติบโตโดยชนะประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการขยายสัดส่วนกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของ GPSC ให้ได้ตามเป้าหมายมากกว่า 50% ในปี พ.ศ.2573

“ในอนาคตหากยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในอินเดียที่ 10-15% นี้ได้ และเป้าหมายของรัฐบาลอินเดียที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานสะอาดที่ 50 จิกะวัตต์ต่อปี จนบรรลุเป้าหมาย 500 จิกะวัตต์ได้ในปี 2573 GPSC จะมีพลังงานสะอาดอย่างน้อย 5 จิกะวัตต์ต่อปี” นางรสยา กล่าว

การขยับขึ้นมาอีกขั้นของ GPSG อาจไม่ได้ง่ายต้องฝ่าความท้าทาย เนื่องจากผ่านไป 6 เดือนหลังจากเข้ามาลงทุนในอินเดีย ก็มีการขึ้นภาษีนำเข้า 40% จากเดิมที่ไม่มี จึงต้องการหาเงินทุนและเตรียมสต๊อกสินค้า อีกทั้งอินเดียประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 5% กลายเป็น 12% เรียกว่าเป็น Perfect Storm ก็ว่าได้ ดังนั้นคงต้องจับตาว่าอินเดียจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอีกหรือไม่

การเดินหน้าทางธุรกิจยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง GPSC เฝ้ามองการลงทุนพลังงานสะอาดในหลายประเทศที่มีการเติบโตสูง เช่น อินเดีย จีน ออสเตรเลีย สหรัฐ ยุโรป ปัจจุบันมีการลงทุนที่ ประเทศไทย สปป.ลาว สำหรับ "เวียดนาม" หลังจากศึกษาความเป็นไปได้กว่า 4 ปี จำเป็นต้องพับแผนลง เนื่องจากพบว่า โครงการบางอย่างทำไม่ได้ เช่น ปัญหาที่ดิน

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

กลยุทธ์ (4s) ขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานยั่งยืน

ปัจจุบัน GPSC มีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 3,629 เมกะวัตต์ คิดเป็น 45% ของกำลังการผลิตรวม ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ 4 กลยุทธ์ (4s)

  • S1: Strengthen and Expand the Core การสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมขยายการให้บริการในธุรกิจหลัก ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต
  • S2: Scale-up Green Energy การเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด
  • S3: S-Curve & Batteries การพัฒนานวัตกรรมพลังงาน และธุรกิจแห่งอนาคต
  • S4: Shift to Customer-Centric Solutions บริการโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ยังวางแผนเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตมากกว่าครึ่งหนึ่งจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2603 / ค.ศ.2060

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

ความร่วมมือทางธุรกิจ กลุ่มอวาด้า VS GPSC

ความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกลุ่มอวาด้า และ GPSC ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ที่สอดรับกับนโยบายของทั้งสองประเทศ ในการมุ่งสู่การพัฒนาพัฒนาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศและเกิดความยั่งยืน ซึ่ง บริษัท อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด (Avaada Energy Private Limited) หรือ AEPL ได้รับการสนับสนุนจาก GPSC ร่วมลงทุนด้วยมูลค่า 779 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ปี 2564 ในขณะที่เป้าหมายการขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มอวาด้ายังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลอินเดีย ที่มีเป้าหมายการผลิตพลังงานโดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ 500 กิกะวัตต์ (GW)

“ถือเป็นความท้าทายในการเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก ซึ่งเรามุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความพยายามในการบุกเบิกภาคธุรกิจที่รัฐบาลอินเดียประกาศให้เป็นภาคธุรกิจที่ควรผลักดัน ซึ่งจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายร่วมกัน” Mr. Vineet Mittal ประธานกลุ่มอวาด้า กล่าว

Mr. Vineet Mittal ประธานกลุ่มอวาด้า

Mr. Kishor Nair ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AEPL กล่าวว่า ในปี 2566 กลุ่มอวาด้าชนะการประมูลโครงการเสนอราคาการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต PLI เพื่อผลิตแผ่นเวเฟอร์ โซลาร์เซลล์ และโมดูล พร้อมกันนี้ AEPL ยังมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นมากกว่า 7 กิกะวัตต์ (GW) รวมทั้งบริษัท Brookfield ได้เข้าร่วมลงทุนมูลค่ามากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มอวาด้า เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไฮโดรเจน/แอมโมเนียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเนื่องจากได้รับาการสนับสนุนจากนักลงทุนรายใหญ่ต่างๆ ไม่ว่มจะเป็น GPSC , Brookfield

Mr. Kishor Nair ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AEPL

Bikaner solar power project

ที่เมืองพิฆเนร์ รัฐราชสถาน หากทอดสายตาไปจนสุดขอบฟ้าทั้งหมดที่เห็น คือ พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด นี่คือ หนึ่งในความสำเร็จที่สุดกลุ่มอวาด้า หลังจากได้พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบนำร่องที่ใหญ่ที่สุดในโลกขนาด 1.25 กิกะวัตต์ (GW) (กำลังการผลิต 1,247 MW) โดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและเม็ดเงินลงทุนมหาศาลกว่า 4,000 ล้านรูปีอินเดีย (หรือประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ) และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ภายในอนุทวีปและภูมิภาค โดยคาดดว่าจะเพิ่มอีก 2 กิกะวัตต์ (GW) รวมทั้งหมด 3.25 กิกะวัตต์ (GW)

Bikaner solar power project

โรบอททำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์

โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ 5,000 เอเคอร์ หรือประมาณ 12,650 ไร่ มีอาณาเขตยาวประมาณ 99 กิโลเมตร ใช้โซลาร์โมดูล 3 ล้านชิ้น สายเคเบิลยาว 2,338 กิโลเมตร เหล็ก 30 ตัน โรบอททำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ 2,000 ตัว ที่สำคัญคือ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 2 MTPA  (2 ล้านตันต่อปี) ตัวย่อ MTPA  หมายถึง Million Tonne per Annum เป็นการวัดปริมาณถ่านหินที่ขุดได้ ในหน่วยล้านตันต่อปี

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”

เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในอินเดีย ยกระดับระบบสาธารณสุข-PM 2.5 ?  

ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหา PM 2.5 ที่เห็นในอินเดียไม่ได้เกิดจากพลังงานเพียงอย่างเดียวแต่มาจาก 2 ปัจจัย คือ การก่อสร้าง เนื่องจากประเทศอยู่ในช่วงการพัฒนา จึงมีการก่อสร้างค่อนข้างเยอะ เช่น อาคาร การขนส่ง ทำให้มี PM 2.5 เข้ามาในระบบ ขณะที่ก่อนหน้านี้ที่เมืองเดลี ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีโรงงานถ่านหินตั้งอยู่ใจกลางเมือง แต่ปัจจุบันได้ปิดตัวลง

และเมื่อวันที่การก่อสร้างเริ่มเข้าสู่โหมดคงที่มากขึ้น รวมทั้งการขนส่งที่เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้า มีมากขึ้น ก็จะทำให้จำนวนรถยนต์ลดลงด้วย แต่หากมองที่ธุรกิจของอวาด้าอาจยังไม่เห็นผลลัพธ์โดยตรงเนื่องจากธุรกิจมีการก่อสร้างในพื้นที่ฝั่งทะเลทราย แต่มองไกลไปอีกประมาณ 10 ปี หลังจากนี้ เมื่อโครงสร้างของพลังงานมีเสถียรภาพมากขึ้น การก่อสร้างต่างๆ คงที่ ไม่มีการก่อสร้างมากเท่ากับปัจจุบัน คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

เมื่อ “อินเดีย”ผงาด สู่ก้าวของ “GPSC” รุกตลาดไฟสีเขียว พิชิต “Net Zero 2060”