zero-carbon

"ประเทศกำลังพัฒนา" สู้กับ "ภาวะโลกรวน" ต้องใช้เงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์

    "ประเทศกำลังพัฒนา" สู้กับ "ภาวะโลกรวน" ต้องใช้เงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในแต่ละปี เพราะการขาดเงินทุนทำให้ประเทศเหล่านี้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงและเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดได้ยาก

"ประเทศกำลังพัฒนา" จะต้องใช้เงินมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 69.34 ล้านล้านบาท (อัตราเเลกเปลี่ยน ณ วันที่ 7 ส.ค.66) ในแต่ละปีเพื่อสร้างความก้าวหน้าอย่างมากในการต่อสู้กับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ "ภาวะโลกรวน" ตามข้อมูลของ มารี เอลกา ปังเงสตู (Mari Elka Pangestu) อดีตเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก

“ประมาณการ 1 ล้านล้าน-3 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้” 

เพราะการขาดเงินทุนทำให้ประเทศเหล่านั้นลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงและเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดได้ยาก สิ่งนี้ยังจะนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

“คุณจะเปลี่ยนจากการปล่อยมลพิษสูงเป็นพลังงานสะอาดได้อย่างไร มันจะทำให้เราต้องมีทรัพยากร สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง เนื่องจากขาดความคืบหน้าในการประชุมรัฐมนตรีด้านสภาพอากาศของกลุ่ม 20 ในอินเดียที่เพิ่งสรุปไปเมื่อเร็ว ๆ นี้" อดีตเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก กล่าวเสริม

การเจรจาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมจบลงโดยไม่มีฉันทามติในประเด็นสำคัญเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เช่น ประเด็นการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา "เอกสาร" ระบุ

 

การประชุมสภาพภูมิอากาศในเดือนกรกฎาคมถูกมองว่าเป็นโอกาสสำหรับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลกในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมก่อนการ "ประชุมผู้นำ G20" ในเดือนกันยายนที่กรุงนิวเดลีและการประชุมสุดยอด COP28 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในเดือนธันวาคม

ความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม

“ยุโรปและแอฟริกาเหนือกำลังลุกเป็นไฟ เอเชียถูกทำลายด้วยน้ำท่วม แต่รัฐมนตรีด้านสภาพอากาศของ G20 กลับล้มเหลวในการตกลงในทิศทางร่วมกันเพื่อหยุดยั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน” อเล็กซ์ สก็อตต์ จากสถาบันคลังสมองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ E3G กล่าว

เขากล่าวเสริมว่า ซาอุดีอาระเบียและจีนปิดกั้นพื้นที่ของฟอรัมเพื่อหารือเกี่ยวกับทิศทางใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ซึ่งต้องเผชิญกับการอ้างว่าเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่าการประชุมบรรลุผลในเชิงบวก เเต่บางประเทศนำประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์มาเป็นอุปสรรคและที่ประชุมไม่สามารถรับรองแถลงการณ์ได้ 

ด้านอดีตเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก กล่าวว่า มีความเร่งด่วนเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องใช้ความพยายามมากขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะต้องมาจากทรัพยากรของประเทศเองส่วนหนึ่งต้องมาจากธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีและแหล่งอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยง เพื่อให้สามารถให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมได้

เธอยังแย้งว่าหากประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนกำหนด ก็ควรให้การสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ประเทศกำลังพัฒนา

ข้อมูล :

Over $1 trillion needed for developing nations’ climate transition, says ex-World Bank official

G20 Environment and Climate Ministers’ Meeting Outcome Document and Chair’s Summary