ปีที่แล้วเราอาจเห็นการเติบโตของ "พลังงานลม" และ "แสงอาทิตย์" เป็นประวัติการณ์ แต่ "เชื้อเพลิงฟอสซิล" ที่ทำให้"โลกร้อน" ยังคงเป็นพลังงานส่วนใหญ่ของโลกต่อไป ตามการวิเคราะห์ใหม่ ชี้ให้เห็นว่า น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซ คิดเป็น 82% ของการใช้พลังงานทั่วโลกในปีที่แล้ว ตามรายงาน Statistical Review of World Energy โดยสถาบันพลังงานและบริษัทที่ปรึกษา KPMG และ Kearney
รายงานวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดพลังงานโลก พบว่าการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2565 โดยยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ช่วยตอบสนองความต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่าทั้งปริมาณการใช้น้ำมันและการผลิตเพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว ก๊าซ คิดเป็น 24% ของการใช้พลังงานทั่วโลก ลดลงเล็กน้อยจาก 25% ในปี 2564
ถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อมลพิษมากที่สุด เพิ่มขึ้น 0.6% ในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์จากจีนและอินเดียเป็นส่วนใหญ่ และการผลิตถ่านหินทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7%
ในขณะที่เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงครองอำนาจอยู่ ปริมาณความร้อนของโลกที่เกิดจากภาคส่วนพลังงานก็พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ในปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้น 0.8%
“ส่วนแบ่งของพลังงานโลกที่ยังคงมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงติดอยู่ที่ 82% ควรมีการเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดมากขึ้นในการเปลี่ยนแปลงพลังงาน” รองประธานและหัวหน้าฝ่ายพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่ ที่ปรึกษา KPMG กล่าวในแถลงการณ์
การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น 25% และพลังงานลมเพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม พลังงานหมุนเวียนซึ่งไม่รวมไฟฟ้าพลังน้ำยังคงมีสัดส่วนเพียง 7.5% ของการใช้พลังงานของโลกในปี 2565
“ปี 2565 ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา เช่น น้ำท่วมใหญ่ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนในปากีสถาน เหตุการณ์ความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่เราต้องมองหาเรื่องดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานในข้อมูลใหม่นี้” จูเลียต ดาเวนพอร์ท ประธานสถาบันพลังงานกล่าวในแถลงการณ์
ประเทศต่าง ๆ ได้ตกลงที่จะลดระดับคาร์บอนไดออกไซต์ลง 43% ภายในปี 2573 เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม หากไม่ทำตามเกณฑ์ 1.5 องศา นั่นหมายความ จะเพิ่มโอกาสของการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและไม่สามารถย้อนกลับได้ และความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดจุดพลิกผันที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงการตายของแนวปะการังและการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง