ถ้าวันหนึ่งอาหารหมดโลก เราจะทำอย่างไร ?
ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวใช่ไหม แต่ปัญหาขาดแคลนอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพราะปัจจุบัน วิกฤติอาหารโลก (Global food crisis) มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางความเสี่ยงด้านต่างๆ ในระบบนิเวศ ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารในระดับต้นน้ำ
ทั้งในส่วนของการทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ระดับกลางน้ำ เช่น การแปรรูปและผลิตอาหาร เเละระดับปลายน้ำ อย่าง การค้าขายและขนส่งสินค้าต่อไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้ายในห่วงโซ่การผลิตอาหาร
อาจพูดได้ว่า วิกฤติอาหารโลก เป็นเหมือนระเบิดเวลา และสัญญาณเตือนผู้คนทั่วโลกให้ต้องตระหนักและเตรียมรับมือ Global Report on Food Crises 2022 ชี้ให้เห็นว่าประชากรเกือบ 193 ล้านคนใน 53 ประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารเฉียบพลัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2021 เกือบ 40 ล้านคน นี่อาจเรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤต และเป็นสัญญาณเตือนภัยที่กำลังจะตามมา
ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ คาดการณ์ว่า ปี 2565 วิกฤตอาหารโลก (Global Food Crisis) จะเกิดปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นั่นคือ จึงประกาศแผนรับมือวิกฤติความมมั่นคงด้านอาหารโลก อัดฉีดงบประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่โครงการในปัจจุบันและโครงการใหม่
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า วิกฤติอาหารโลก เกิดจากสาเหตุหลัก 3 หลัก
ดังนั้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงมักได้ยิน การกินแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Eating เทรนด์การบริโภคของคนทั่วโลก ไม่เพียงเท่านั้นหากสังเกตให้ดี เราจะเห็นหลายธุรกิจหันมาตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Eco-Conscious Consumers) อีกด้วย
ขณะที่ องค์กรสหประชาชาติ (UN) ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ข้อ โดยมี Zero Hunger ขจัดความหิวโหยเป็นข้อหนึ่งที่ถูกรวมไว้ โดยเป้าหมายที่ 12 ระบุถึงการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns)
มีความเชื่อว่าอาหารยั่งยืนคือกระบวนการที่จะหยุดความหิวโหยและการขาดแคลนอาหารของมนุษยชาติเเละมีการคารดการณ์จะหยุดประเด็นอาหารหมดโลกไปภายใน 50 ปีนี้ด้วย
Sustainable Eating การกินเเบบยั่งยืน ช่วยทั้งลดโลกร้อนและประหยัดเงินได้อย่างยั่งยืน
กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง นักวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (IPCC) บอกว่าหากลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงได้ จะสามารถทวงคืนที่ดินซึ่งใช้ไปกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้ เเละยังช่วยรอยเท้าคาร์บอนได้อีกด้วย จึงยิ่งทำให้มีการรณรงค์ลดกินเนื้อไปทั่วโลก หรือที่เรียกว่า plant based
กินวัตถุดิบท้องถิ่น เพราะเราจะได้วัตถุดิบที่สดใหม่ ช่วยลดการผลิตอาหารอย่างไม่ยั่งยืนในระบบอุตสาหกรรมและเพิ่มความเป็นธรรมทางรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย ช่วยลดพลังงานในการขนส่ง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดความเสี่ยงในการเจอสารอันตรายที่จะปนเปื้อน
กินอาหารให้หลากหลาย โดยเฉพาะการเลือกกินวัตถุดิบหลากหลายสายพันธุ์ ประเภท โดยเฉพาะวัตถุดิบสายพันธุ์ท้องถิ่น ทำให้เราได้สารอาหารหลายๆ ชนิด ก็ยังได้สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ยังก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร
กินให้หมด เพราะการทิ้งขยะอาหารทุกครั้งทำให้สูญเสียทรัพยากรที่เป็นต้นทุนในการผลิตอาหารอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำ แร่ธาตุ แรงงาน พลังงาน รวมถึงที่ดิน เเละก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายขยะ
กินอย่างมีแบบแผน วางแผนมื้ออาหาร เเละวิธีการจัดเก็บ การถนอมอาหาร ในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร
ข้อมูล : eatforum , greenery , un , greenpeace
ข่าวที่เกี่ยวข้อง