zero-carbon
2.4 k

ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” กับ “ลานีญา” แตกต่างกันอย่างไร

    มีคำเตือน "เอลนีโญ" จะเกิดขึ้นกับโลกของเรา จึงชวนมาทำความรู้จัก ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” กับ “ลานีญา” แตกต่างกันอย่างไร

 3 ปีที่ผ่านมาเกิด "ปรากฏการณ์ลานีญา" มาอย่างต่อเนื่อง กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ค่าเฉลี่ยปกติของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง (mslp) และฝนรายเดือน 6 เดือน ล่วงหน้า (ก.ค.-พ.ย.66) ยังคงต้องติดตามความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อฝนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ ฤดูฝนดูจะสั้นลง ช่วงเดือน ต.ค.66 ปีนี้ ฝนหายไปเร็ว อาจจะเนื่องด้วย "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" เริ่มแรงขึ้น ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพฝนในปีนี้

อ่านเพิ่มเติม : เตือน "เอลนีโญ" เสี่ยงทำเศรษฐกิจโลกเสียหายยาวถึง 2029 

ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” กับ “ลานีญา” แตกต่างกันอย่างไร

เอลนีโญ ในภาษาสเปน คำว่าเอลนีโญ (el niño) หมายถึง เด็กชาย หากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น

ลานีญา ในภาษาสเปน คำว่าลานีญา (La Niña) หมายถึง เด็กผู้หญิง ในปีลานีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่า ลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น

ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” กับ “ลานีญา” แตกต่างกันอย่างไร