มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism CBAM) โดยที่ผ่านมา อียูได้ข้อสรุปมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ขยายเพิ่มเป็น 7 กลุ่มสินค้า เตรียมบังคับใช้มาตรการ 1 ต.ค. 66 ก่อนเริ่มใช้เต็มรูปแบบ 1 ม.ค. 69 ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อลดภาระการซื้อใบรับรอง CBAM ในอนาคต
ดังนั้นเวลานี้จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการนับถอยหลัง CBAM ในเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era โดย กรุงเทพธุรกิจ “รองเพชร บุญช่วยดี” รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นับถอยหลังมาตรการ CBAM ระบุว่า ในฐานะ อบก. มุมมองของการเก็บภาษีเป็นมาตรการที่ปรับสินค้านำเข้าโดยเปรียบเทียบกับ carbon emission ของสินค้าประเภทเดียวกับที่อยู่ในยุโรป สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมคือ ฐานข้อมูล carbon emission ต้องจัดการ Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) เพราะ carbon emission เกิดตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของผลิตภัณฑ์
ล่าสุดพบว่า อียูยังไม่ได้ออกรูปแบบหรือไกด์ไลน์ออกมาที่ชัดเจน ว่าจะตรวจวัดด้วยมาตรฐานไหน รวมทั้งการตรวจสอบที่ต้องมี Third Party หมายความว่า มี 2 มาตรฐาน คือ จะตรวจวัดอย่างไร และจะสร้างการตรวจสอบที่สอดคล้องกับมาตรฐานของอียูได้อย่างไร
ทั้งนี้ ระบบการวัด Metrology ทางอียูเป็นผู้กำหนด แต่ประเทศไทยไม่ได้นิ่งเฉย แต่การเตรียมฐานข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลารวดเร็ว อบก.จึงมีภารกิจร่วมกับทาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งสำนักงานอีอีซี
“เรารอแบบตั้งรับ เตรียมข้อมูลจากสินค้าหลายๆ ประเภท อบก.ต้องเข้าไปมอนิเตอร์หรือทำการตรวจสอบความถูกต้องว่ามีการปล่อยมลพิษเท่าไหร่ มาจากไหน สินค้าประเภท ซีเมนต์ เหล็ก ปิโตรเคมี คอนสตรักชั่น ก็ได้เริ่มไปแล้ว พอวัดได้บางอย่าง” รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าว
มาตรการ CBAM คืออะไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง