zero-carbon

ติด "โซลาร์เซลล์" มาก-น้อยแค่ไหน พิจารณาจากอะไร เช็คที่นี่

    ติด "โซลาร์เซลล์" มาก-น้อยแค่ไหน พิจารณาจากอะไร เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้ว ก่อนพิจารณาเลือกใช้งาน ทั้งแบบการขายคืนไฟให้รัฐ และการเก็บไว้ใช้เอง

โซลาร์เซลล์ อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หนึ่งในแนวทางช่วยประหยัดค่าไฟที่ปัจจุบันราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่สำคัญในเรื่องของการติดตั้ง ทั้งจะเลือกติดแบบไหน และต้องติดมากน้อยแค่ไหนถึงจะเพียงพอ

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อหาคำตอบเรื่องกดังกล่าว พบว่า

ติดตั้งโซลาร์เซลล์มากน้อยแค่ไหน พิจารณาจากอะไร :

ก่อนอื่นมาดูความแตกต่างของระบบ "โซลาร์เซลล์" กับการใช้ไฟฟ้าทั่วไป คือการใช้ไฟฟ้าทั่วไป เป็นการผลิตรอไว้ หลังจากนั้นค่อยซื้อมาตามที่ใช้งานจริง 
แต่ระบบโซลาร์เซลล์จะผลิตได้เฉพาะกลางวันเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องทำการประเมินว่าควรติดขนาดเท่าไรให้พอดี 

ซึ่งปัญหาที่เจอทั่วไป คือ คนมักไม่อยู่บ้านช่วงกลางวัน จึงควรพิจารณาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันเป็นหลัก โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ 

  • ถ้ากลางวันไม่อยู่บ้านเลย หรือใช้ไฟกลางวันน้อย สามารถขายไฟฟ้าที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าฯ แต่ก็ได้ราคาหน่วยละ 2.2 บาทต่อหน่วย (ประมาณครึ่งหนึ่งของราคาที่เราซื้อไฟฟ้าใช้) แต่การไฟฟ้าฯก็มีการจำกัดปริมาณการรับซื้อด้วย
  • กลางวันไม่อยู่บ้าน แต่อยากเก็บไฟไว้ใช้กลางคืน การเก็บไฟฟ้าก็จำเป็นต้องมี Storage สำหรับเก็บไฟฟ้า จึงต้องมีงบประมาณเพิ่มสำหรับติดตั้ง Storage  
  • เน้นการใช้ไฟช่วงกลางวัน มีคนอยู่บ้านประจำ เป็นโฮมออฟฟิศ และออฟฟิศ แบบนี้ถือว่าคุ้มที่สุด
     

อย่างไรก็ดี หากประเมินแบบง่ายอย่างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 3,000 – 4,000 บาท และมีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันนิดหน่อยอาจเริ่มติด "โซลาร์เซลล์" ที่ 5 กิโลวัตต์ 

โดยแนะนำให้ติดต่อบริษัทผู้ผลิตเพื่อเข้าไปประเมินเพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น ค่าไฟต่อเดือน สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันและกลางคืน เฟสไฟของบ้าน พื้นที่ติดตั้งบนหลังคา และระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะกับบ้าน