"โซลาร์เซลล์" หรืออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นทางเลือกในการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟให้กับบ้านอยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ปัจจุบันโซลาร์เซลล์กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยบ้านอยู่อาศัยต้องจ่าย 4.72 บาทต่อหน่วย ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะต้องจ่ายที่ 5.33 บาทต่อหน่วย
อย่างไรก็ดี หนึ่งคำถามที่สำคัญก็คือ เมื่อติดตั้ง "โซลาร์เซลล์" แล้วสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กี่ชิ้น
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดัวกล่าว พบว่่า
ติดโซลาร์เซลล์แล้วใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กี่ชิ้น
พลังงานแสงอาทิตย์เมื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว จะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลากหลาย
โดยขออธิบายให้เข้าใจการทำงานของระบบ "โซลาร์เซลล์" คือจากแผงโซลาร์เซลล์ที่หลังคาจะต่อไปยังตัวควบคุมส่วนกลางและแปลงเป็นไฟฟ้า ซึ่งจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
หากไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไม่พอ ก็จะสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ เช่น ใช้พลังงานไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ โซลาร์เซลล์ผลิตมาได้ 3 กิโลวัตต์ ระบบก็จะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ มาอีก 2 กิโลวัตต์
หรือบ้านที่มี Storage ถ้าโซลาร์เซลล์ผลิตได้ 2 กิโลวัตต์ ใน Storage มี 3 กิโลวัตต์ ก็จะไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ
ซึ่งการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ในแต่ละวันอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพแสงแดดด้วย แต่ถ้าพูดในเชิงสถิติ อาคารส่วนใหญ่ในเมืองไทยจะใช้ไฟฟ้า 60% ไปกับเครื่องปรับอากาศ การติดโซลาร์เซลล์จึงมักไปแบ่งเบาการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศมากที่สุด
ส่วนเหตุผลที่ควรติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เพราะ เรื่องพลังงานเป็นมากกว่าปัญหาโลกร้อน แต่เป็นปัญหาเชิงสังคมอย่างคาดไม่ถึงด้วย เช่น
จากสถิติคนเราจะมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานประมาณ 10 – 20 % ซึ่งถือว่าเยอะมาก เทียบให้เห็นชัดๆ ถ้าเงินเดือน 10,000 บาท จะเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงานถึง 1,000-2,000 บาท
แต่กิจการด้านพลังงานเป็นแบบรวมศูนย์ (Centralize) คือมีผู้ดูแลเพียงไม่กี่ราย ทำให้เกิดการกระจุกตัวทั้งด้านรายได้ การให้บริการ และความเหลื่อมล้ำ
ดังนั้น การเข้าถึงพลังงานควรกระจายให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ด้วย (Decentralize) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้สังคมดีขึ้น ทุกบ้านพึ่งพาตัวเองได้ และสิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง