WEF 2023 กับการเปลี่ยนเเปลงสภาพอากาศ ที่ฝากไว้ให้คิด

24 ม.ค. 2566 | 10:51 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ม.ค. 2566 | 11:16 น.

WEF 2023 ปิดฉากไปแล้ว แต่ยังมีประเด็นให้ต้องติดตามและเร่งแก้ปัญหาร่วมกัน นั่นก็คือ การเปลี่ยนเเปลงสภาพอากาศ

จบไปแล้วสำหรับการประชุม World Economic Forum 2023 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มกราคมที่ผ่านมา ภายใต้ธีม "Cooperation in a Fragmented World" หรือ "ความร่วมมือในโลกที่แตกแยก"  สำหรับโลกของเรายังมีประเด็นที่ WEF 2023 ฝากไว้ให้ต้องติดตามและควรให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด

WEF 2023 หรือที่เรียกกกันอีกว่า Davos 2023 เป็นเวทีประชุมใหญ่ โดยในแต่ละปีจะเชิญบุคคลสำคัญจากหลากหลายสาขา ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ นักวิชาการ สื่อมวลชน และบุคคลที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก มีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกอีกไม่น้อยกว่า 634 แห่ง มาร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอแนวคิด รวมถึงสร้างความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อรองรับความท้าทายระดับโลก

แต่ปีนี้ ผู้นำจากกลุ่มประเทศ G7 ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพียงแค่ส่งตัวแทนมาร่วมงานเท่านั้น   

การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว เงินเฟ้อที่พุ่งสูง ทำให้เกิดความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ผิดปกติ แต่ก็มีประเด็นที่โลกให้ความสนใจไม่น้อย

นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งในปีนี้ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนเยาวชนจากทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้นำควรทำเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม รวมทังการสนับสนุนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากที่สุด

ตลอดจนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ความท้าทาย นโยบายเพิ่มเติมทางการเงินที่จำเป็นในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ  รวมทั้งขั้นนตอนที่เป็นรูปธรรมในด้านสภาพอากาศ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการร่วมกันในระดับโลก

สาระสำคัญจากการประชุมที่ฝากเอาไว้ให้ได้ขบคิดและเร่งแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกันต่อไปว่า ในปีที่ผ่านมาพบว่าราคาพลังงาน ซึ่งก็คือ น้ำมันอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือบริษัทมีอำนาจที่จะลงทุนในพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้น แต่ความพยายามในการให้คำมั่นสัญญาต่อสิ่งแวดล้อมซีอีโอบริษัทพลังงานฟอสซิลในการจัดหาเงินทุนค่อยข้างซบเซา  

ขณะที่ “เกรตา ทุนเบิร์ก” และนักเคลื่อนไหว พยายามเรียกร้องให้อุตสาหกรรมพลังงานหยุดการแย่งชิงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ภายใน ผู้นำทางการเมืองในสหราชอาณาจักร ไม่พอใจการลงทุนน้ำมันใหม่ และรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของปากีสถาน ผลักดันการสูญเสียและความเสียหายเงินทุน ด้าน จอห์น เคอร์รี ทูตด้านสภาพอากาศของสหรัฐฯ  ระบุว่า การเพิมเงินเข้าไปเท่านั้นที่จะเป็นทางเดียวที่จะบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสได้

“ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

เน้นให้ประเทศภาคีตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

รวมทั้ง การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างทางการเงิน (Climate Finance) กลไกการสร้างความโปร่งใส (Transparency) การทบทวนการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) และการให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงทางการเงิน โดยประเทศภาคีต้องมีข้อเสนอการดำเนินการที่เรียกว่า Nationally Determined Contribution (NDC) ของประเทศทุก ๆ 5 ปี

สำหรับการการประชุม COP27 ที่ผ่านมามีรายละเอียดโดยสรุปที่น่าสนใจ

การทำตามคำสัญญารัฐภาคีให้ไว้เมื่อ COP26 ว่าต้องระดมเงินทุน 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี สนับสนุนกลุ่มประเทศยากจนในการปรับตัวและเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มกองทุนเพื่อการปรับตัวเป็นสองเท่าภายในปี 2568

เป้าหมายของข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศกลาสโกว์ (Glasgow Climate Pact) เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในมาตรการลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ 

กลุ่มประเทศเล็กที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ประเทศคิริบาตี รวันดา มาลาวี กาบูเวร์ดี ซูรินามี บาร์เบโดส และปาเลา เรียกร้องให้เพิ่มเงินทุนสำหรับชดเชยจากความสูญเสียและเสียหาย ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสหประชาชาติ

ตอกย้ำถึงความพยายามในทุกระดับเพื่อบรรลุเป้าหมายการรักษาอุณหภูมิทั่วโลกตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ภายในปี 2643

ทั้งนี้ การเรียกร้องจัดตั้งกองทุนในการชดเชยความสูญเสียและเสียหาย สำหรับหมู่เกาะเล็ก ๆ และประเทศเปราะบางอื่น ๆ คาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะก่อตั้งกองทุนได้สำเร็จ