จับกระแส ESG ปี 2566 กับมาตรการสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดทั่วโลก

24 ม.ค. 2566 | 05:55 น.
833

จับกระแส ESG ปี 2566 กับมาตรการสิ่งแวดล้อมเข้มงวดทั่วโลก เพราะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ถูกยกระดับจนเป็นเงื่อนไขหลักในการดำเนินธุรกิจ

ความท้าทายด้าน ESG ในปี 2566 เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลทางด้านเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งส่งผลต่อความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG ของภาคธุรกิจเช่นกัน ขณะที่ภาครัฐก็มีแนวโน้มให้ความสำคัญด้าน ESG มากขึ้น จากการกำหนดนิยามกลุ่มกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Taxonomy)

 

อ่านเพิ่มเติม : รู้จัก “Taxonomy” เครื่องมือใหม่ ผลักดันธุรกิจคาร์บอนต่ำ

 

มาตรการภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้าน ESG และมาตรการป้องกัน Greenwashing นอกจากนี้ยังมีประเด็นการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เทคโนโลยีการผลิตและการใช้เชื้อเพลิง พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาด เป็นต้น ที่จะมาเป็นอีกปัจจัยผลักดันให้การดำเนินการด้าน ESG 

 

 

แนวโน้มมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดขึ้นทั่วโลก

มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (อียู)

อียูเตรียมปรับใช้มาตรการราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ  CBAM  1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป สำหรับสินค้านำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น

 

ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฮโดรเจน และอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวเนื่อง ระยะแรก ผู้ประกอบการต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต คาดว่ามีผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องประมาณ 1,300 ราย  มูลค่าการส่งออก 18,100 ล้านบาท 

 

กฎหมาย Clean Competition Act ของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ CBAM จากสินค้านำเข้าในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น ได้แก่ การผลิตและกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและ กระดาษ และเอทานอล

 

ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการทำลายป่าไม้ของสหภาพยุโรป

ร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้ามายังอียูต้องตรวจสอบและรายงานการมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products) จากสินค้า 7 กลุ่ม ได้แก่ เนื้อวัวและผลิตภัณฑ์ ไม้และผลิตภัณฑ์กระดาษตีพิมพ์ ปาล์มน้ำมันและอนุพันธ์ของน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ รวมถึงสินค้าแปรรูปอื่นๆ เช่น เครื่องหนัง ช็อกโกแลต เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น  ผู้ประกอบการจะต้องแสดงข้อมูลที่ตรวจสอบได้ว่าสินค้านำเข้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่านับตั้งแต่ปี 2564 โดยหากไม่ปฏิบัติตามจะมีค่าปรับ 

 

ร่างกฎหมายนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา หากมีผลบังคับใช้ผู้ประกอบการจะมีเวลา 18 เดือนในการเตรียมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

 

การผลักดันการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure)

เริ่มมีการพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดด้านการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้านความยั่งยืนสู่สาธารณชนมากขึ้น เพื่อตรวจสอบและป้องกันการดำเนินการใช้ประโยชน์จากการระบุว่ามีการดำเนินการด้าน ESG อย่างไม่ถูกต้อง หรือการฟอกเขียว (Greenwashing) เช่น การดำเนินการในอียู สหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เป็นต้น

 

ประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ และและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนด้วยเช่นกัน และมีข้อกำหนดด้านการทำบัญชีที่เกี่ยวข้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นในอนาคต

 

การป้องกัน Greenwashing และกระแส Anti-ESG

การดำเนินการด้าน ESG (Anti-ESG Campaign ) เป็นเครื่องมือทางเมือง โดยเฉพาะในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรครีพับลิกันมีการต่อต้านการดำเนินการด้าน ESG ของพรรคเดโมแครดที่ผ่านมาว่าได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ดำเนินธุรกิจยากขึ้น ทั้งนี้ กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมที่เสนอบางฉบับอาจเน้นเป้าหมายทางการเมืองมากกว่าให้เกิดการปฏิบัติจริง