‘ฟาสต์ รีเทลลิ่ง’ โชว์แผนบริหารบุคลากร ตอกย้ำองค์กรยั่งยืน

26 พ.ย. 2565 | 08:19 น.

“ฟาสต์ รีเทลลิ่ง” แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศความคืบหน้าและแผนความยั่งยืน ระบุเป้าหมายปี 2573 ใช้วัสดุรีไซเคิลได้ 50% พร้อมสนับสนุนความหลากหลาย วางแผนเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารหญิง และจ้างแรงงานผู้พิการต่อเนื่อง

จากวิสัยทัศน์ LifeWear = Sustainability ซึ่งเป็นแกนในการดำเนินธุรกิจ สร้างองค์กรยั่งยืน ของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) ผู้บริหารแบรนด์ยูนิโคล่ (Uniqlo), GU และ Theory หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการดำเนินองค์กรยั่งยืน คือ การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม

‘ฟาสต์ รีเทลลิ่ง’ โชว์แผนบริหารบุคลากร ตอกย้ำองค์กรยั่งยืน

“เซเรนา เพ็ก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และ ประธานฝ่ายดำเนินการและที่ปรึกษาทั่วไป บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (สหรัฐฯ) กล่าวว่า ฟาสต์ รีเทลลิ่งบริหารบุคลากรใน 4 เสาหลัก คือ 1.เคารพความหลากหลาย หรือ Diversity and Inclusion (D&I) 2. สร้างความเป็น One Team 3. พัฒนาและสรรหาผู้มีความสามารถในแต่ละโลเคชั่นที่ฟาสต์ รีเทลลิ่งไปลงทุน และ 4. ส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรม

หนึ่งในความเท่าเทียมคือ การตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 จากปลายเดือนสิงหาคม 2565 มีอัตราส่วนผู้บริหารหญิงเพิ่มขึ้นเป็น 43.7% นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มการจ้างงานผู้พิการทั่วโลกให้มากขึ้น
‘ฟาสต์ รีเทลลิ่ง’ โชว์แผนบริหารบุคลากร ตอกย้ำองค์กรยั่งยืน  

อีกประเด็นที่น่าสนใจ ในการสนับสนุนแรงงาน นั่นคือการลดความเสี่ยงการทำงาน และดูแลสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีให้กับพนักงาน โดยตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้นำโปรแกรม SLCP (Social and Labor Convergence Program) มาใช้ ซึ่ง SLCP เป็นระบบประเมินความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงานผลิตของอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และฟาสต์ รีเทลลิ่ง จะนำโปรแกรมนี้ ไปใช้ในทุกๆ โรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้าหลักของบริษัท ภายในปีงบประมาณ 2566

ขณะเดียวกัน ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ใช้มาตรการ Zero - Tolerance ซึ่งเป็นมาตรการไม่ยอมรับการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ซึ่งเป็นการนำมาใช้ในการทำข้อตกลงต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยง
  ‘ฟาสต์ รีเทลลิ่ง’ โชว์แผนบริหารบุคลากร ตอกย้ำองค์กรยั่งยืน

ยูนิโคล่บริจาคเงินประมาณ 100.45 ล้านเยน จากโปรเจ็กต์ PEACE FOR ALL โปรเจกต์เสื้อยืดการกุศล บริจาคไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), องค์การช่วยเหลือเด็กหรือ Save the Children และองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล (Plan International) ซึ่งกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อเนื่อง
 

​รวมทั้ง ยังเพิ่มความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ด้วยการเพิ่มการจ้างงานและการช่วยเหลือเพื่อตั้งรกรากสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน และยังได้จัดทำโปรเจกต์ช่วยเหลือด้านอิสรภาพผู้หญิงพลัดถิ่นชาวโรฮิงญา ที่ต้องการลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ พร้อมทั้งขยายโปรแกรมพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ โดย 19 พฤศจิกายน 2565 โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ โกลบอลแบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ ได้ร่วมจัดคลาสเทนนิสสำหรับเยาวชนที่ญี่ปุ่น
  ‘ฟาสต์ รีเทลลิ่ง’ โชว์แผนบริหารบุคลากร ตอกย้ำองค์กรยั่งยืน

“เซเรนา” เน้นย้ำว่า ฟาสต์ รีเทลลิ่ง มีแนวทางการพัฒนาบุคลากรและองค์กร ประกอบด้วย

  1. เคารพและสนับสนุนบุคลากร ส่งเสริมการเติบโตทั้งขององค์กรและส่วน
  2. บุคคล ลงทุนในบุคลากรและมอบโอกาสในการเติบโตให้กับพนักงานทุกคน
  3. รับฟังเสียงของพนักงาน เพื่อสะท้อนคุณค่าที่หลากหลายในธุรกิจและองค์กร

  “โคจิ ยาไน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด

ส่วนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนหนึ่งของแผนงาน “โคจิ ยาไน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าใช้วัสดุที่รีไซเคิล 50% จะถูกนำไปใช้ ในปี 2573 โดยในปี 2565 ใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุอื่นๆ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำมากคิดเป็นประมาณ 5% ของวัสดุทั้งหมดที่ใช้ในฟาสต์ รีเทลลิ่ง และสัดส่วนของโพลีเอสเตอร์ที่เป็นวัสดุหลักซึ่งสามารถรีไซเคิลได้ ใช้อยู่ที่ประมาณ 16% และยังมีแผนเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 ที่ร้านยูนิโคล่และสำนักงานในยุโรป อเมริกาเหนือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว 100% 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,838 วันที่ 24 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565