นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เปิดเผยถึงสถานการณ์การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย(T-VER) ว่า จากที่ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายบรรลุความเป็นกลาง (Carbon Neutrality) ของคาร์บอนในปี 2593 และคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ในปี 2608 ส่งผลให้ภาคเอกชนเกิดการตื่นตัวหันมาลงทุนโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันมากขึ้น
ทั้งนี้ สะท้อนได้จากสถิติโครงการ T-VER ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2565 มีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 312 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ราว 10.59 ล้านตันคาร์บอนได ออกไซด์เทียบเท่าต่อปี แยกเป็นประเภทโครงการจากพลังงานทดแทน จำนวน 152 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ 3.31 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 70 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ราว 4.51 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
การจัดการของเสีย จำนวน 30 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ 1.01 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี พลังงานทดแทนจากของเสีย จำนวน 16 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ 1.30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว จำนวน 38 โครงการคิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ 3.47 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และการจัดการในภาคขนส่ง จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ 6.19 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
“ปีงบประมาณ 2565 มีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 55 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ราว 1.01 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี”
ขณะที่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2565 ราว 13.51 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จาก 136 โครงการ แยกเป็นจากพลังงานทดแทน จำนวน 65 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 8.22 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 36 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 1.89 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าการจัดการของเสีย จำนวน 23 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 1.09 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า พลังงานทดแทนจากของเสีย จำนวน 8 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 2.20 ล้านตัน
ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 2,241 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และอื่นๆ 1 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 8.15 หมื่นตันคาร์บอนได ออกไซด์เทียบเท่า โดยในปีงบ ประมาณ 2565 มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต จำนวน 59 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 4.67 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นายเกียรติชาย กล่าวอีกว่า ส่วนปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ในปี 2565 ปรับตัวสูงขึ้นมากมาอยู่ในระดับ 1.95 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มีมูลค่าในการซื้อขายราว 150.76 ล้านบาท มีราคาฉลี่ยอยู่ราว 76.98 บาทต่อตัน แยกเป็นประเภทจากพลังงานทดแทน ราคาซื้อขายตํ่าสุดอยู่ที่ 130 บาทต่อตัน สูงสุดอยู่ที่ 200 บาทต่อตัน ชีวมวล ราคาตํ่าสุดอยู่ที่ 20 บาทต่อตัน ราคาสูงสุดอยู่ที่ 500 บาทต่อตัน พลังงานแงอาทิตย์ราคาตํ่าสุดอยู่ที่ 21.5 บาทต่อตัน ราคาสูงสุดอยู่ที่ 500 บาทต่อตัน เป็นต้น เมื่อเทียบกับช่วงปี 2564 มีปริมาณการขายคาร์บอนเครดิต 273,588 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มีมูลค่าการซื้อขายฯ เพียง 9.39 ล้านบาท มีราคาเฉลี่ยที่ 34.34 บาทต่อตัน
ทั้งนี้ เพื่อให้ตลาดซื้อขายคาร์เครดิต มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น อบก.กำลังพัฒนายกระดับมาตรฐาน T-VER ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพัฒนาโครงการ T-VER ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิต ปรับปรุงหลักเกณฑ์อื่นๆ ซึ่งคาร์บอนเครดิตจะเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญให้ประเทศเปลี่ยนผ่านที่จะให้ประเทศบรรลุเป้าหมายความเป็นกลาง (Carbon Neutrality) ของคาร์บอนในปี 2593 และคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ในปี 2608 ได้อีกทางหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง