คาร์บอนเครดิต  คืออะไร ทำไม มีมูลค่าหลายแสนล้าน 

31 ต.ค. 2565 | 17:02 น.
อัปเดตล่าสุด :24 พ.ย. 2565 | 04:32 น.
4.5 k

ทำความรู้จัก "คาร์บอนเครดิต"  คืออะไร สำคัญยังไงกับธุรกิจในโลกปัจจุบัน ถึงโลกอนาคต ทำไมถึงมีมูลค่ามหาศาล หลายแสนล้านบาท

คาร์บอนเครดิต คืออะไร ?


คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM (Clean Development Mechanism)

ได้รับการนำมาใช้เพื่อเป็นกลไกให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประสบปัญหาในการลดปริมาณก๊าซ สามารถซื้อโควต้าคาร์บอนจากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโครงการพัฒนาที่สะอาดที่เรียกว่า “การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก” จึงจะเป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่สามารถจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้

ซึ่งธุรกิจที่ปกติ ไม่ได้มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนส่วนเกินมาสู่โลก เช่น ภาคการเกษตรที่มีการปลูกต้นไม้ หรือ ชาวสวนยางพารา สามารถแสวงหาโอกาสทำประโยชน์ได้ ด้วยการนำเครดิตเหลือเหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนขายให้กับธุรกิจอื่นที่ปล่อยก๊าซในระดับสูงเกินเกณฑ์ และจำเป็นต้องหาเครดิตมาชดเชย 

ทำไมมีมูลค่าหลายแสนล้าน ?

เพราะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเวทีการค้าโลก ซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำมาสู่การกำหนดมาตรการทางการค้า เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนขึ้น

 

สหภาพยุโรป (อียู) - เป็นประเทศแรกที่จะจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสินค้านำเข้า (carbon border adjustment mechanism) หรือ CBAM

@thansettakij

คาร์บอนเคดิต คืออะไร ?

♬ เสียงต้นฉบับ - ฐานเศรษฐกิจ

เพื่อให้สินค้าที่นำเข้ามาในอียู ต้องถูกคิดรวมต้นทุนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซฯ ในกระบวนการผลิต โดยเริ่มจาก 5 กลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซฯ สูงในกระบวนการผลิตได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก อลูมิเนียม และกระแสไฟฟ้า และเตรียมเพิ่มกลุ่มสินค้าเคมีภัณฑ์ และพลาสติกด้วย  โดยกำหนดให้ปี 2023 – 2025 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งให้ผู้นำเข้าสินค้าในอียูบันทึก และแจ้งปริมาณก๊าซฯ จากการผลิตสินค้านำเข้า ก่อนที่จะเก็บภาษีอย่างเป็นทางการในปี 2026 หรืออาจเร็วขึ้นเป็นปี 2025 

สหรัฐอเมริกา - เตรียมออกมาตรการลักษณะเดียวกัน โดยกำหนดให้เก็บ Carbon Border Tax สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ สินค้าเป้าหมาย คือ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และสินค้าที่มีกระบวนการผลิตเป็น Carbon-Incentive เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก ซีเมนต์ และอาจจะเพิ่มรายการสินค้าอีกในอนาคต

ซึ่งจะเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปของ Carbon Emissions Tax ที่มีการเรียกเก็บทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาใช้ในปี 2567 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลักของ EU 


ประเทศสิงคโปร์ - เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการกำหนดราคาซื้อขายคาร์บอน และได้ดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอนเพื่อกระตุ้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาตั้งแต่ปี 2019 และมีแผนที่จะขึ้นภาษีคาร์บอนในอนาคต โดยจะปรับตัวเลขเป็น 45 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2026 และ 2027 และขึ้นเป็น 50 ดอลลาร์สิงคโปร์ถึง 80 ดอลลาร์สิงคโปร์ภายในปี 2030 


ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากจึงมีความจำเป็นต้องหาซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย

 

มูลค่าซื้อ - ขาย คาร์บอนเครดิต มหาศาล!

ธนาคารกรุงเทพเผยแพร่บทความเกี่ยวกับธุรกิจซื้อขาย "คาร์บอนเครดิต" โดยมีเนื้อหาระบุว่า  ภาพรวมของตลาดคาร์บอนเครดิตโลก เมื่อปี 2020 มีมูลค่าประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 12,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดจะสูงถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือประมาณ 750,000 ล้านบาท ในปี 2030 (พ.ศ.2573) 

 

เช่นนี้แล้ว จึงไม่แปลกที่ภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐ จึงต้องเร่งปรับตัว ให้ทันกับเทรนด์ธุรกิจนี้