ลุยรถไฟฟ้า สายสีส้ม ประเดิม เจาะอุโมงค์สถานี "ประตูน้ำ "ดันราคาที่ดินพุ่ง  

03 พ.ย. 2567 | 04:21 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ย. 2567 | 15:49 น.
4.9 k

"รฟม.-BEM-ช.การช่าง" ประเดิม เจาะอุโมงค์สถานี “ประตูน้ำ” สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก นำร่อง 5 สถานีแรก 15 พ.ย. 67 ปิดเบี่ยงจราจร ดันราคาที่ดินพุ่ง รฟม.วางแผนเข้ม กรมศิลปากร พื้นที่อ่อนไหว เจาะอุโมงค์ บนพื้นที่อนุรักษ์ เกาะรัตนโกสินทร์

 

หลังรอคอยมานาน ล่าสุดประชาชนเริ่มมีความหวัง ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เมื่อการรถไฟฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เร่ง ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ตะวันตกหรือเฟสที่2  ช่วง  “บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  หลังจากก่อสร้าง เฟสแรก

ก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันตก

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก ช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- มีนบุรี(สุวิทวงศ์)แล้วเสร็จ 100%หากแล้วเสร็จจะเชื่อมต่อระหว่าง ฝั่งตะวันตกและตกวันออก เข้าด้วยกัน เพื่อรับส่งผู้โดยสาร จากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมือง ลดผลกระทบความแออัดคับคั่งของจราจรในช่วงโมงเร่งด่วน รวมถึงมลพิษทางอากาศ PM2.5

 ขณะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ปัจจุบัน เกิดขึ้นรออยู่ก่อนแล้ว ซึ่งส่งผลดีทั้งผู้อยู่อาศัยและมูลค่าโครงการและที่ดินเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งรฟม.คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการราว3แสนคนต่อเที่ยววัน และเชื่อมโครงข่ายกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ อาทิ MRT สายสีน้ำเงิน  รถไฟฟ้า BTS  แอร์พอร์ตลิงก์ ฯลฯ 

ทั้งนี้ รฟม. มอบ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  ในฐานะคู่สัญญา  เข้าพื้นที่ก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จตามแผน และเปิดให้บริการภายในปี 2573    ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้า แล้ว 1.90 %  (ข้อมูล 31ตุลาคม2567)  โดยผู้รับจ้าง คือ บริษัท ช.การช่างจำกัด (มหาชน) ฐานะผู้ออกแบบ ก่อสร้างอุโมงค์และทางวิ่ง เข้าพื้นที่ไปก่อนหน้านี้  โดยมีเป้าหมาย ก่อสร้าง 5สถานีแรก ประกอบด้วย  

1.สถานีบางขุนนนท์

2.สถานีศิริราช

3.สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

4.สถานียมราช

และ5.สถานีประตูน้ำ

โดยจะเริ่ม จาก การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ สถานี ประตูน้ำที่มีความพร้อม ก่อน บริเวณใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณหน้าห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำเดิมหรือห้างค้าส่งอาหารAEC ในปัจจุบัน ภายใต้การบริหารของ นางวัลลภา ไตรโสรัส ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี  โดยจะขุดเจาะอุโมงค์ และทางวิ่ง ในเดือน มกราคม ปี2568 แต่ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัว บริษัทช.การช่าง  ในฐานะผู้รับจ้าง  มีความประสงค์ต้อง ปิดเบี่ยงจราจร บนถนนเพชรบุรี บริเวณธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาประตูน้ำ ถึงบริเวณหน้าปากซอยเพชรบุรี 20เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค ปรับทางเดินเท้า และติดตั้งงานไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 – 31 มกราคม 2568 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง  สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567

การขยับของ รฟม.และ BEM  แม้จะกระทบต่อการรื้อย้ายเวนคืนที่ดินโดยเฉพาะ พื้นที่ประตูน้ำ ซึ่งเป็นจุดแรกของการก่อสร้างสถานีใต้ดินใหญ่  อาจส่งผลกระทบต่อการสัญจรและการใช้ชีวิตของประชาชนในระแวกใกล้เคียง  แต่ทั้งนี้หากแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อการเดินและสร้างความเจริญให้กับพื้นที่ย่านการค้าได้มากขึ้น รวมถึงการขยับขึ้นของราคาที่ดินวิ่งไปที่ 2ล้านบาทต่อตารางวา จากปัจจุบันราคาอยู่ที่1.5ล้านบาทต่อตารางวา    

ที่ นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ที่ปรึกษาการลงทุน เช่า ซื้อ และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  ได้ประเมินไว้  ซึ่งจะเชื่อมโครงข่ายการเดินทาง กับรถไฟฟ้าสายอื่น อย่าง BTS  MRTสายสีน้ำเงิน และ แอร์พอร์ตลิงก์ เพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชน

นอกจากสถานี ประตูน้ำซึ่งเป็นสถานีที่ประชาชนให้ความสนใจแล้ว ยังมีพื้นที่อนุรักษ์ บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่ง เป็นพื้นที่อ่อนไหวและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล ทั้งกรุงเทพมหานคร กรมศิลปกร เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของโบราณสถาน โบราณวัตถุ  โลหะปราสาท วัด วัง สถานที่ราชการต่างๆ อย่างถนนราชดำเนิน   สถานี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  สถานี ยมราช   รฟม. ได้ วางแผนกับทางกรมศิลปากร  เพื่อลดผลกระทบ  โบราณสถานดังกล่าว โดยพื้นที่ส่วนนี้จะใช้เวลาขุดเจาะเพื่อสำรวจดินประมาณ 4 - 6 เดือนหลังจากนี้

ขณะเดียวกัน แนวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะมีการหารือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมงานรื้อสะพานข้ามแยก โดยต้องรองานออกแบบรายละเอียดก่อนว่าจะดำเนินการรื้อย้ายออกไปเลยหรือก่อสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานรากเดิมของสะพาน รวมทั้งจากการหารือกับกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่าอยากให้ปรับปรุงสะพานบริเวณดังกล่าวด้วย โดยสะพานที่จะมีการรื้อย้าย 3 แห่ง ประกอบด้วย1.สะพานข้ามแยกประตูน้ำ 2.สะพามข้ามแยกราชเทวี และ3.สะพานข้ามแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) (วิศวกรรมและก่อสร้าง)ในฐานะผู้อำนวยการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า

"รฟม. ได้เร่งรัดดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อส่งมอบการเดินทางที่สะดวกสบายให้แก่ประชาชนโดยเร็ว ซึ่ง รฟม. ได้แจ้งให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ร่วมลงทุนเริ่มงานเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้าง อุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้า สายสีส้ม ฯ เร่งเข้าดำเนินการให้เป็นไปตามแผน"

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ในภาพรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2567 คืบ1.90%โดยเป็นไปตามแผนงาน คาดแล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน พ.ย.2573

 แนวสายทาง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มช่วงตะวันตกและตะวันออก  (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบ รถไฟฟ้า,มหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ดำเนินการโดย  BEM  ภายใต้การร่วมลงทุนกับ รฟม.เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน และยกระดับ

มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟสายสายธนบุรี (ทางรถไฟสายใต้เดิม) แล้วลอดใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา  เข้าสู่ย่านเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองก่อนออกไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์และออกสู่ย่านชานเมือง ถนนรามคำแหง มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์บริเวณแยกร่มเกล้า รวมระยะทางกว่า35กิโลเมตร