จากกรณีที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมลงพื้นที่สำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปีภาษี พ.ศ.2567 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กำหนดระยะเวลาสำรวจตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่มบังคับใช้เมื่อไหร่
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ ภาษีที่ดิน เพิ่งบังคับใช้ปี 2563 เป็นต้นมา การมาของภาษีที่ดิน คือ การยกเลิกโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และ บำรุงท้องที่ และ ปัจจุบันได้ใช้คำว่า ภาษีที่ดิน แทนที่ในปี 2563 เป็นต้นมา
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีใครบ้าง
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือที่ดินเปล่าถ้ามีเสียภาษีที่ดิน สำหรับการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่มวันที่ครอบครองวันแรก คือ 1 มกราคม ส่วนผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันก็ต้องรับผิดชอบภาษีที่ดินร่วมกัน
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแตกต่างอย่างไร
สิ่งปลูกสร้าง คือ
- บ้านและตึกแถว ที่สร้างบนที่ดิน
- สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด หรือ อาคารชุด
ประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษี
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
- ภาษีสูงสุด 0.15% สำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินที่มูลค่าเกิน 50 ล้าน จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรกแต่ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ สำหรับเจ้าของที่เป็นนิติบุคคล เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
- เพดานภาษีสูงสุด 0.30% สำหรับบ้านหลังหลัก ที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ สำหรับเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน (คอนโดมิเนียม หรือสร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า) จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ แต่สำหรับคนมีบ้านหลายหลัง ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ที่ดินหรือบ้านหลังที่ 2 จะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้น
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
- เพดานภาษีสูงสุด 1.20% หมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
- เพดานสูงสุด 3% ถ้ามีที่ดินเปล่าแต่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ใดใด จะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียภาษีแพงที่สุดและถ้าปล่อยรกร้างไว้นานติดต่อกัน 3 ปี เมื่อไปเสียภาษีในปีที่ 4 จะถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี
2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
3. ห้องชุด
ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี - มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
- มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคา
- มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
ปี 2566 ปรับลด ภาษีที่ดิน 15% ของภาษีที่คำนวณได้
โดย ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการลดภาษีที่ดิน 2566 เพื่อ
1. ลดภาระภาษี สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังโควิด-19
2. สิ้นสุดระยะเวลาบรรเทาภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
3. ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในปี 2566 ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น
โดยลดภาษีให้ในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี 2566 ซึ่งคาดว่าปี 2566 คนไทยจะเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้งประเทศรอบปี 2566-2569 ปรับขึ้นเฉลี่ย 8%
การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- จากเดิมภายในเดือน เม.ย. 2566 ขยายเวลาเป็นภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2566 แต่หากต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเกิน 3,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย
อัปเดตล่าสุดวันที่ 20 ก.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานคร ผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีป้ายของ50สำนักเขตตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2566