EA ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

30 มี.ค. 2565 | 14:40 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มี.ค. 2565 | 21:42 น.
724

EA ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

EA พลังงานบริสุทธิ์ จับมือ MEA การไฟฟ้านครหลวง และ JR เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู. ยูทิลิตี้ เดินหน้าพัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station) ตั้งเป้าปี 65 เพิ่มหัวจ่ายแบบ DC Ultra-Fast Charge 1,000 หัวชาร์จ มั่นใจช่วยขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย 30@30

จากนโยบายการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า 30@30 ที่มีเป้าหมายผลิตยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV (Zero Emission Vehicle)ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 ประกอบกับแนวทางที่จะทำให้ประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ต่างเดินหน้าเต็มสูบเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ได้วางไว้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โดย บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EMN) บริษัทย่อย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และบมจ. เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู. ยูทิลิตี้ (JR) เพื่อพัฒนา "โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า"(EV Smart Charging Station) 

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

นาย สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจในคร้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไร้มลพิษให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573

"ความร่วมมือกันในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะการที่เราจะพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ดีต้องมีโครงข่ายพลังงานที่สมบูรณ์ ซึ่งกฟน.ที่ดูแลเรื่องไฟฟ้าจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เรียกว่าสร้างความแข็งแกร่งตรงจุดนี้ได้ ขณะที่ JR จะมีหน้าที่พัฒนา ออกแบบ ศึกษา และดำเนินโครงการด้านวิศวกรรมการวางระบบที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ 30@30 "

สำหรับบริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EMN) เป็นบริษัทย่อย ของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “EA Anywhere” ปัจจุบัน EA Anywhere มีสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้ากว่า 430 สถานี รวมทั้งสิ้นกว่า 1,855 หัวชาร์จ

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

โดยแบ่งออกเป็นหัวชาร์จ ระบบธรรมดา หรือ AC Charger ประมาณ 1,092 หัวชาร์จ และระบบชาร์จเร็ว และทันสมัยที่สุด หรือ DC Ultra-Fast Charge ที่ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ประมาณ 763 หัวชาร์จ และภายในปี 2565 ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มหัวชาร์จ DC Ultra-Fast Charge จำนวน 1,000 หัวชาร์จ โดยคาดว่าจะใช้ลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท

นาย สมโภชน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า บริษัทฯยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการด้วย Application “EA Anywhere” ระบบออนไลน์ที่สามารถดำเนินการทั้ง จอง จ่าย และชาร์จในคราวเดียวกัน

"ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลด Application “EA Anywhere แล้วกว่า 33,000 ครั้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า EA Anywhere เป็นทั้งผู้บุกเบิก และครองความเป็นผู้นำในธุรกิจให้บริการอัดประจุไฟฟ้า สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ EA ที่ต้องการเป็นผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร"

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านพลังงาน เป็นกลไกของภาครัฐที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่พลังงานสะอาด ประกอบกับนโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้กฟน.เดินหน้าจับมือกับพันธมิตรเพื่อจะขับเคลื่อนและผลักดันให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจที่จะใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต

"กฟน.ในฐานะผู้จำหน่ายไฟฟ้า และสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure มีหน้าที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าว่าจะมีจุดชาร์จ -สถานีชาร์จรองรับ ซึ่งในส่วนของกฟน. ตั้งเป้าเพิ่มสถานีชาร์จจำนวน 100 สถานี และปีถัดไปก็จะเพิ่มอีก 100 แห่ง โดยกฟน.เชื่อว่าจากแนวทางที่เดินหน้านี้จะช่วยผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐฯที่วางไว้ว่าจะผลิตยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV (Zero Emission Vehicle)30% ในปี 2573  และสถานีอัดประจุไฟฟ้า แบบ Fast Charge 12,000 หัวจ่าย "

นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู.ยูทิลิตี้ จำกัด (มหาชน) (JR) กล่าวว่า ในฐานะผู้นำในการวางระบบ ICT และไฟฟ้าของไทย  JR จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ จัดหาและติดตั้งระบบส่ง และโครงข่ายไฟฟ้า รวมถึงออกแบบพัฒนาระบบอนุรักษ์พลังงานร่วมกับ บริษัท พลังงานมหานคร (บริษัทย่อยของ EA) ในการหาสถานที่ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่หมาะสม ทั้งขนาด จำนวนและสถานที่ติดตั้งสำหรับโครงการเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

EA  ผนึกพันธมิตร MEA -JR พัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging Station)