บลจ.ดาโอ เปิดขาย ‘DAOL-BHARAT’ คว้าโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว

14 มี.ค. 2567 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :14 มี.ค. 2567 | 11:26 น.

บลจ.ดาโอ แนะนำ ถึงเวลาของการลงทุนหุ้นอินเดีย เปิดขาย ‘DAOL-BHARAT’ ระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคม 2567 คว้าโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว

“บลจ.ดาโอ” เปิดขาย IPO "กองทุนเปิด ดาโอ ภารัต (DAOL-BHARAT)" ระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคม 2567 โดยเน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลางที่ดีมีคุณภาพ โอกาสเติบโตสูง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของอินเดีย ผ่านการคัดเลือกและบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจตลาดอินเดีย สร้างโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวกับประเทศมหาอำนาจของเอเชีย

 

บลจ.ดาโอ เปิดขาย ‘DAOL-BHARAT’ คว้าโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว

 

คุณนิสารัตน์ ชมภูพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ดาโอ จำกัด หรือ บลจ.ดาโอ (DAOL INVESTMENT MANAGEMENT) เปิดเผยว่า การพัฒนาและการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียกำลังเติบโตรวดเร็วและโดดเด่น จนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก (มูลค่า GDP ของอินเดีย มีสัดส่วนกว่า 3.5% ของ GDP ทั่วโลก) และคาดการณ์ว่ามีโอกาสจะขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในปี 2027 โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ จำนวนประชากรที่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น และความน่าสนใจในการเป็นฐานการผลิตของธุรกิจของโลก (ที่มา: IMF World Economic Outlook (April 2023)

ในด้านแผนการพัฒนาประเทศ รัฐบาลอินเดียปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบด้านภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น กฎระเบียบเรื่องการล้มละลาย เรื่องภาษี ฯ เพิ่มความมั่นใจกับนักลงทุนและการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

ปัจจัยต่อมา คือ อินเดียมีประชากรที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีจำนวนมาก ทำให้อินเดียเป็นผู้ได้ประโยชน์หลักจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล สะท้อนจากการเติบโตของธุรกิจ Startup ในอินเดีย ที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (Unicorn) มีการจัดตั้งขึ้นมากกว่า 60 บริษัท ในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา  โดยมีอัตราการเติบโตของเงินทุนสูงกว่าของจีน (ที่มา: pib.gov.in, INC42 as of March 2023 / INC42, OTHER SECONDARY SOURCES)

นอกจากนี้ อินเดียพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มความเร็วของเครื่องบินขนส่งและพาณิชย์ การตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ให้เหลือเพียง 8% ของ GDP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก (ที่มา: Department of Economic Affairs, Ministry of Finance)

ทั้งนี้ด้วยประเทศอินเดียมีขนาดใหญ่และมีประชากรมาก ทำให้บริษัทที่มีขนาดกลางและเล็กได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และเมื่อพิจารณาในอดีตกองทุนที่มีนโยบายแบบ Mid-Cap สามารถสร้างผลการดำเนินงานสูงกว่ากองทุนที่มีนโยบาย Multi-Cap

บลจ.ดาโอ จึงเปิดเสนอขาย IPO "กองทุนเปิด ดาโอ ภารัต (DAOL-BHARAT)"  วันที่ 14-20 มีนาคม 2567 (ความเสี่ยงระดับ 6 : ความเสี่ยงสูง) มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในอินเดีย เน้นลงทุนบริษัทขนาดกลางไม่น้อยกว่า 60% และลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 40%  ผ่านกองทุนหลัก Mirae Asset India Mid Cap Equity Fund Class R US ซึ่งบริหารโดย Mirae Asset Global Investments ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญการลงทุนในอินเดีย ซึ่งมีความเข้าใจ “วัฒนธรรม” การทำธุรกิจของอินเดียอย่างรอบด้าน รวมถึงการตรวจสอบการบริหารความถูกต้องภายในอย่างละเอียด ทำให้ Mirae สามารถคัดเลือกหุ้นขนาดกลางคุณภาพดี อันจะสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวให้แก่นักลงทุนได้

 

บลจ.ดาโอ เปิดขาย ‘DAOL-BHARAT’ คว้าโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว

 

ตัวอย่างหลักทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่

CEAT : บริษัทผลิตล้อและยางรถทุกประเภท สัญชาติอินเดีย มีคู่ค้าอยู่ทั่วโลก มีกำลังการผลิตยางได้มากถึง 800 ตันต่อวัน

FEDERAL BANK : หนึ่งในธนาคารกลุ่มแรกในอินเดีย ให้บริการทางด้านเงินและการลงทุน มีสาขากว่า 1,348 แห่งทั่วอินเดีย มีลูกค้ารวมกว่า 16 ล้านราย

Gujarat State Petronet Limited : ดำเนินธุรกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อที่เชื่อมต่อกับศูนย์อุปสงค์และอุปทานต่างๆ ใน คุชราต บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 1998 GSPL มีเครือข่ายไปป์ไลน์ประมาณ 2,692 กม. ทั่วรัฐคุชราต และกำลังขยายเครือข่ายไปป์ไลน์เพิ่มเติม

DELHIVERY : บริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติก และSupply Chain ทั่วอินเดีย มีคลังสินค้าขนาดใหญ่กว่า 85 แห่ง และศูนย์รับสินค้ากว่า 1 หมื่น มีรายได้หลักจากบริการกับธุรกิจออนไลน์

LUPIN  : บริษัทผู้ผลิตสินค้าและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หนึ่งในบริษัทที่มี Supply Chain ทั่วโลก และมีจุดเด่นด้านสินค้าที่มีคุณภาพดี

(ที่มา: : Mirae Asset India Equity Fund as of 31 JANUARY 2024)

ด้วยกลยุทธ์ลงทุนแบบ Active Management ที่กระจายลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์และรายหลักทรัพย์ และเน้นสะสมมูลค่าในระยะยาว ทำให้กองทุนสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนอย่างโดดเด่น โดยพบว่าย้อนหลัง 3 เดือนให้ตอบแทนอยู่ที่ 16.5%  ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่  16.1% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่  36.0%  ย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 69.8%  ย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่  123.4%  และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 78.3%  เมื่อเทียบกับดัชนี NIFTY Midcap 100 Index อยู่ที่  25.4%  27.6%  56.0%  104.0% 145.6% 71.8%  ตามลำกดับ  (ที่มา: Mirae Asset India Equity Fund ณ 31 ม.ค. 2567)

“Fund Flow ที่ไหลเข้าตลาดหุ้นอินเดีย สะท้อนว่าอินเดียได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตและ ขณะที่อัตราการเติบโตของหุ้นยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดการณ์ Earning ของบริษัทจดทะเบียนในช่วงปี 2020-2025 จะมีการเติบโตอยู่ที่ 21% ต่อปี จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นอินเดียจะเติบโตต่อ ซึ่งนับว่าโดดเด่นขณะที่ตลาดเกิดใหม่อื่นๆต่างเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ‘กองทุนเปิด DAOL -BHARAT’  จึงเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นอินเดีย ยักษ์ใหญ่อีกประเทศที่มุ่งหน้าสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก” คุณนิสารัตน์  กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ดาโอ จำกัด (“บลจ.ดาโอ”) โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.ดาโอ ได้แก่

●    บล.ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
●    บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
●    บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
●    บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
●    บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
●    บล.เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
●    บลน.เว็ลธ์เมจิก จำกัด
●    บล.เอเชียเวลท์ จำกัด
●    บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด
●    บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาช  น)
●    บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
●    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
●    บล.เอเอสแอล จำกัด
●    บลน.เทรเชอริสต์ จำกัด
●    บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
●    บล.ไอร่า จำกัด (มหาชน)
●    บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
●    บล.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
●    ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
●    บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
●    บลน.ฟินโนมินา จำกัด
●    บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
●    ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
●    บลจ.เอ็กซ์สปริง จำกัด
●    บล.เคเคพี ไดม์ จำกัด
●    บลน.โรโบเวลธ์ จำกัด
●    บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
●    บลน.เวลท์ รีพับบลิค จำกัด
●    บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
●    บล.ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
●    บล.สยามเวลธ์ จำกัด
●    บล.พาย จำกัด (มหาชน)
●    บล.บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
●    บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้