กกต.เปิดตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือก สว. ลักษณะบัตรดี-บัตรเสีย

29 พ.ค. 2567 | 18:25 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ค. 2567 | 18:32 น.

กกต.คลอดระเบียบเลือก สว. ฉบับที่2 กำหนดลักษณะบัตรดี บัตรเสีย และตัวอย่างบัตรลงคะแนน 3 ระดับ “อำเภอ-จังหวัด-ประเทศ”

วันนี้ (29 พ.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิทธิพร บุญประคองประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ลงนามในระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกสมาชิกสุฒิสภา (ฉบับที่2) พ.ศ.2567 (เลือก สว.) 

โดยเนื้อหาสาระหลักเป็นการยกเลิก และการแก้ไขระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกสมาชิกสุฒิสภา พ.ศ.2567 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบัตรลงคะแนน ลักษณะบัตรดีบัตรเสีย การวินิจฉัยบัตรลงคะแนน และภาพตัวอย่างบัตรลงคะแนน อาทิ บัตรลงคะแนนที่ให้ถือเป็นบัตรเสียทั้งฉบับและไม่ให้นับเป็นคะแนน ได้แก่

                     กกต.เปิดตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือก สว. ลักษณะบัตรดี-บัตรเสีย

1.บัตรปลอม 

2.บัตรที่มีการทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตหรือเขียนข้อความใด ๆ ลงในบัตรลงคะแนนนอกจากหมายเลขผู้สมัคร เว้นแต่ เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ดำเนินการ เกี่ยวกับการเลือก

3.บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน

4.บัตรที่มิอาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด 

5.บัตรที่ลงคะแนนให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเลือก

6. บัตรที่เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินจำนวนที่กำหนด 

7.บัตรที่ลงคะแนนให้บุคคลใดเกินหนึ่งคะแนน 

8.บัตรที่มีใช่บัตรซึ่งกรรมการประจำสถานที่เลือกมอบให้
และบัตรลงคะแนนที่จะนับเป็นคะแนน จะต้องเขียนด้วยหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเป็นเลขอารบิกเท่านั้น

                           กกต.เปิดตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือก สว. ลักษณะบัตรดี-บัตรเสีย

และยังกำหนดลักษณะของบัตร "ดีบางส่วน" ซึ่งสามารถนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรลงคะแนนที่ไม่ได้เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในช่องเขียนหมายเลข ประจำตัวผู้สมัคร” โดยให้นับคะแนนใน “ช่องเขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร” ที่สามารถนับคะแนน ได้"

ทั้งนี้ทางสำนักงานกกต.ได้แจ้งระเบียบดังกล่าว ไปยังผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมแล้ว เนื่องจากระเบียบอยู่ในระหว่างการลงประกาศราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับ

              กกต.เปิดตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือก สว. ลักษณะบัตรดี-บัตรเสีย     กกต.เปิดตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือก สว. ลักษณะบัตรดี-บัตรเสีย