MOU ตั้งรัฐบาล8พรรค เหมือนหรือต่างกับ นโยบายก้าวไกล 100 วัน

22 พ.ค. 2566 | 16:15 น.
อัปเดตล่าสุด :22 พ.ค. 2566 | 17:05 น.
648

เปรียบเทียบ MOU บันทึกความร่วมมือ 8 พรรคการเมืองร่วมจัดตั้งรัฐบาล มีอะไรที่ "เหมือน" หรือ "ต่าง" จากนโยบายเร่งด่วน 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลบ้าง คลิกอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่

กลายเป็นที่จับจ้องของสังคมหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป 2566 เมื่อทางพรรคก้าวไกลซึ่งได้จำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับ 1 โดยเบื้องต้นได้ตัวเลข ส.ส.แบบแบ่งเขต 113 ที่นั่ง และส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 39 ที่นั่ง รวมได้ ส.ส. 152 ที่นั่ง (ข้อมูล ณ เวลา 12.36 น.วันที่ 15 พ.ค. 2566)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ได้ประกาศออกมาในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา

ในขณะที่เวลานี้พรรคก้าวไกลเองต้องการความมั่นใจในระดับสูงสุดว่า จะไม่พลาดพลั้งในการเป็นการแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องสร้างหลักประกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในจำนวนเสียงที่ต้องมากพอในรัฐสภา 

แนวคิดการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ที่พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเป็นธรรม และพรรคพลังสังคมใหม่ ต้องใช้เพื่อเป็นแนวทางร่วมกันจึงเกิดขึ้น

"ฐานเศรษฐกิจ" พาไปเปิดสาระสำคัญในการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ที่เห็นพ้องร่วมกันผลักดันนั้นว่า มีอะไรกันบ้าง เรื่องใดที่ "เหมือน" หรือ "ต่าง" จากนโยบายของก้าวไกล 100 วันแรกที่ประกาศพร้อมทำทันทีซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. ฟื้นฟูประชาธิปโตย

โดยจัดทำรัฐธรรมนูญบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

2. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม

ทุกพรรคจะร่วมผลักดันการอำนวยความยุติธรรม ในคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองผ่านกลไกของรัฐสภา

3. ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม

เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับประชาชนที่เห็นว่ขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ

4.ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ กระบวนการยุติธรรม

ให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย โดยยืดหลักความโปร่งใส ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน

5. เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นระบบสมัครใจ

6. ร่วมผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงทบทวนภารกิจของหน่วยงานและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง

7. ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในภารกิจและงบประมาณ เพื่อให้ท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต

8. แก้ไขปัญหากรทุจริตคอร์รัปชันโดยการสร้างระบบและวัฒนธรรมรัฐโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลรัฐในทุกหน่วยงาน

9. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษยูกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม

10. ยกเครื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของประชาชน

ยกตัวอย่างเช่น ตัด ลด หรือหักใช้ชั่วคราวซึ่งใบอนุมัติอนุญาตที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคเพื่อปรับปรุงใหม่ ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่องทางต้านการเงินและสร้างแต้มต่อให้กับ SME พร้อมกับมุ่งเน้นการเติบโต GDP ของ SME สนับสนุนอุตสาหกรรม และสินค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

11. ยกเลิกการผูกขาดและส่งสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

12. ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ

ด้วยการผลักดันกฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม แก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน รวมถึงการทบทวนคดีที่เป็นผลจากนโยบายทวงคืนผืนป่า

13. ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

14. จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยเน้นใช้วิธีการจัดงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budgeting)

15. สร้างระบบสวัสดิการดูแลประชาชนตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนถึงผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและภาระทางการคลังระยะยาว

16.แก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเร่งด่วน

17.นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา

18.ส่งเสริมเกษตรและปศุสัตว์ปลอดภัย คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ลดตันทุนการผลิตส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งน้ำ

ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อวางผลการผลิตและรักษาผลประโยชน์เกษตรกร ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ

19.แก้ไขกฎหมายประมง ขจัดอุปสรรค เยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพประมงให้ยั่งยืน

20.ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพ ให้มีการจ้างงานที่เป็นธรรม และได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับค่าครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

21.ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

22.สร้างความร่วมมือและกลไกภายในและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) โดยเร็วที่สุด

23.ดำเนินนโยบายการต่างประเทศ โดยการฟื้นฟูบทบาทผู้นำของไทยในอาเซียน และรักษาสมดุลการเมืองระหว่างประเทศของไทยกับประเทศมหาอำนาจ

เมื่อพลิกนโยบายเร่งด่วน 100 วันแรกที่พรรคก้าวไกลประกาศว่า จะทำทันทีหากได้เป็นรัฐบาล ซึ่งมีรายละเอียดและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 

1.ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

2.ยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกชายแดนใต้ 

3.ทำประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และโอนถ่ายอำนาจการบริหารจังหวัดไปสู่ท้องถิ่น โดยยังคงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับ

จากเดิมที่ทำงานแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง อธิบดีกรม ปลัดกระทรวง ที่ถูกแต่งตั้งโดยราชการส่วนกลาง ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกจังหวัด) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่

4.ยกเลิกกฎระเบียบและคำสั่ง คสช. 

5.ห้ามใช้เงินหลวงโปรโมทตัวเอง ตรวจสอบการใช้งบประชาสัมพันธ์ภาครัฐอย่างเข้มข้น พร้อมกำหนดการใช้งบจะต้องเป็นการโฆษณาโครงการ หรือผลงานของหน่วยงานเท่านั้น 

6.กฎโรงเรียนต้องไม่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน เช่น บังคับเรื่องทรงผม และการลงโทษด้วยวิธีรุนแรงทุกประเภท เป็นต้น 

7.ครูละเมิดสิทธิ พักใบประกอบวิชาชีพทันที เช่น การทำร้ายร่างกายเด็ก และการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

8.ยกเลิกการให้ครูนอนเวรเฝ้าโรงเรียนเพื่อโฟกัสไปที่การเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่

9.ยกเลิกพิธีรีตองในการประเมินครู-รับแขก เช่น จัดแต่งอาคารสถานที่ต้อนรับผู้ประเมิน 

10.เร่งเปลี่ยนที่ดินนิคมสหกรณ์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นเอกสารสิทธิ หรือโฉนดให้เกษตรกรและประชาชนทันที

11.หยุดบังคับติดตั้งระบบ AIS ยกเลิกนโยบายกำหนดให้เรือประมงพาณิชย์ติดตั้งระบบ AIS ที่ซ้ำซ้อนกับ VMS ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้เหลือเพียงระบบเดียว

12."ค่าไฟแฟร์" ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน โดยลดค่าไฟให้ประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์ต่อหน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) ให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน

ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติให้โรงแยกก๊าซร่วมหารต้นทุนก๊าซใน Energy Pool ด้วย และให้ก๊าซจากอ่าวไทยขายให้โรงไฟฟ้าก่อนโรงงานอุตสาหกรรม หรือขายก๊าซให้โรงงานอุตสาหกรรมในราคา LNG เพื่อให้ก๊าซจากอ่าวไทยราคาถูกกว่าป้อนโรงไฟฟ้าได้มากขึ้น เป็นต้น 

13.เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือน

โดยปลดล็อกให้ทุกบ้านติดแผงโซลาร์ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินใช้ กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด

14. ลดรายจ่าย SME โดยเปิดให้ SMEs หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษีบุคคลได้จากเดิม 60 % เพิ่มเป็น 90% 

15. เพิ่มแต้มต่อให้ SME เมื่อขายสินค้าครบ 5,000 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ

16.เพิ่มลูกค้าให้ SMEs โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าครบ 500 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ (จำกัดไม่เกิน 2 ใบ/คน/เดือน และ จำนวน 10 ล้านคน/เดือน)