เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง

09 ส.ค. 2565 | 18:11 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ส.ค. 2565 | 01:44 น.
7.1 k

เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง : คอลัมน์ทางออกนอกตำรา โดย...บากบั่น บุญเลิศ ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

อื้ออึงกันทั้งประเทศอีกครั้ง เมื่อศาลภาษีอากรกลาง อ่านคำพิพากษาคดีความแพ่ง หมายเลขดำ ภ.220/2563 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ในคดีที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลยที่ 1 นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ จำเลยที่ 2 นายประภาส สนั่นศิลป์ จำเลยที่ 3 นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ จำเลยที่ 4 กรณีประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "ชินคอร์ป"  17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                      เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียก นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

เพราะการประเมินภาษีต้องออกหมายเรียกไปยังโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง
นอกจากนี้ เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป แต่อย่างใด จึงถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทดังกล่าวอยู่

                       เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง

ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังจากนั้น ก็ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของ บริษัท ชินคอร์ป แต่อย่างใด เพราะ นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริง

ตามมาตรา 19  จึงยังต้องถือว่า นายทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของหุ้น บริษัท ชินคอร์ป ดังกล่าวอยู่ ที่พวกจำเลยให้โจทก์เสียภาษี อย่างผู้มีรายได้พึงประเมินนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีผลทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน 

                  เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
แต่เจ้าพนักงานประเมิน และจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว


ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

                   เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง    เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
หลายคนบอกว่าทักษิณไม่ผิด ทั้งๆ ที่ความจริงนั้นผิด แต่การประเมินภาษีนั้นผิดคนเท่านั้น
เพื่อห้เกิดความกระจ่างลองไปพิจารณาความเห็นของ นายหริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในประเด็นศาลภาษีอากรกลาง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร ยื่นฟ้องกรมสรรพากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่า การประเมินและการออกหมายเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นชินคอร์ปเป็นเงิน 17,000 ล้านบาท เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลได้ตัดสินให้เพิกถอนหมายเรียกเก็บภาษีดังกล่าว โดยมีคำวินิจฉัยว่า….

                      เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง

          เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง     
การที่กรมสรรพากรได้ถือเอาการออกหมายเรียกนาย พานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยพิพากษาแล้วว่าเป็นตัวแทนเชิด ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ของบริษัทชินคอร์ป เป็นการออกหมายเรียกเจ้าของตัวจริงคือ นายทักษิณ ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินจะต้องออกหมายเรียกไปยังนายทักษิณซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง จึงถือว่าเป็นการไม่ได้ออกหมายเรียกตามกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฏากร 

                            เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
อีกทั้งนิติกรรมที่ทำขึ้นไม่ได้ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของชินคอร์ปแต่อย่างใด เพราะยังต้องถือว่านายทักษิณยังคงเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทดังกล่าวอยู่เหมือนเดิม นายทักษิณ จึงไม่ใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ศาลจึงให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าว

                            เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
แน่นอนว่า สำนักข่าวทุกสำนักต่างรายงานข่าวนี้ โดยเฉพาะสำนักข่าวที่เรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยต่างนำเสนอข่าวนี้กันอย่างครึกโครม ที่น่าเศร้าคือ ผู้ที่เข้่ามาแสดงความคิดเห็นที่เชียร์นายทักษิณ มีจำนวนมากบอกว่า คดีนี้เกิดจากการที่นายทักษิณถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง  มึจำนวนมากบอกว่า การขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้วจะต้องมาเสียภาษีอะไร บางคนบอกว่า รัฐบาลจะต้องคืนภาษีให้กับนายทักษิณในขณะที่ถังแตกแล้วจะมีเงินหรือ มีคนหนึ่งถึงกับบอกว่า นายทักษิณไม่มีคดีเหลือแล้ว กลับบ้านได้แล้ว

                            เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง

ความเห็นต่างๆ ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้แสดงความคิดเห็นไม่ได้อ่านเนื้อข่าว เพียงแต่ดูที่หัวข่าวเท่านั้น ทั้งยังแทบไม่มีใครเลยที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับ เทมาเส็ก โดยไม่ต้องเสียภาษี ในที่นี้จึงใคร่ขอสรุปความจริงทั้งหมดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้


1. ศาลภาษีอากรกลางมิได้ตัดสินว่า นายทักษิณ ไม่มีความผิดที่ไม่ได้เสียภาษี แต่ตัดสินว่ากระบวนการออกหมายเรียก และประเมินภาษีของกรมสรรพรกร ไม่เป็นไปตามกฎหมาย จึงให้เพิกถอนเสีย ดังนั้นมิได้หมายความว่าการที่ นายทักษิณ ไม่ได้เสียภาษีนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว

                   เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
2.  การประเมินภาษีของกรมสรรพากรในกรณีนี้ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปในตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นการขายหุ้นเฉพาะในส่วนที่เป็นของบริษัท Ample Rich  ซึ่งก็เป็นบริษัทของนายทักษิณที่จดทะเบียนที่ British Virgin Islands ซึ่งถ้าให้ Ample Rich ซึ่งเป็นนิติบุคคลขายหุ้นให้เทมาเส็ก แม้จะเป็นการขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกับบุคคลธรรมดา 


นายทักษิณจึงเลี่ยงด้วยการให้ Ample Rich ขายหุ้นให้ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา จำนวน 329.2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเป็นการขายในราคาพาร์ ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่หุ้นละ 49.25 บาทและนำไปขายให้เทมาเส็กผ่านตลาดหลักทรัพย์ในราคาตลาด ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้แม้แต่บาทเดียว 

                   เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเห็นว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ไม่ได้ซื้อขายกันจริง แต่ทำเพื่อเลี่ยงภาษี เพราะเจ้าของตัวจริงยังคงเป็นนายทักษิณ ภายหลังกรมสรรพากรจึงออกหมายเรียกเพื่อทำการประเมินภาษี แต่กระบวนการออกหมายเรียก ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย นายทักษิณจึงรอด 


3. การตัดสินครั้งนี้เป็นการตัดสินของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งนายทักษิณเป็นโจทก์ เป็นคนละกรณีกับที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ที่ตัดสินให้ยึดทรัพย์นายทักษิณกว่า 70,000 ล้านบาท เมื่อปี 2553 แต่ศาลภาษีอากรก็ได้นำข้อวินิจฉัยกรณีที่ว่านายทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปตัวจริงมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีนี้ 

                    เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
4. นายทักษิณ ยังไม่ได้มีการชำระภาษีจำนวน 17,000 ล้านบาทให้กรมสรรพากรแต่อย่างใด เนื่องเพราะนายทักษิณได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ แต่ไม่เป็นผล จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าว ซึ่ง นายทักษิณ เป็นฝ่ายชนะตามข่าว 


ดังนั้น ท่านที่เสพข่าวต้องไล่เรียงให้ดี อย่าไปเข้าใจว่า ศาลตัดสินว่าการขายหุ้นชินคอร์ปของ นายทักษิณ ให้กับเทมาเส็ก โดยไม่ต้องเสียภาษี เป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันไม่ใช่ 

                            เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง
จะอย่างไรเสีย การให้ Ample Rich ซึ่งก็เป็นของนายทักษิณ ขายหุ้นชินคอร์ปที่ถืออยู่ให้กับ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่หุ้นละ 49.25 บาท เป็นนิติกรรมอำพรางเพื่อเลี่ยงภาษีและเป็นความผิดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่กฎหมายจะเอาผิดนายทักษิณได้แค่ไหนอย่างไร คงต้องรอดูกันต่อไป 
สาวกของทักษิณก็อย่าเพิ่งตีปี๊บไป

                        เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง    เก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านไม่ได้ แต่...ทักษิณซุกหุ้นจริง


ชัดเจน ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยว่า ทักษิณซุกหุ้นจริง เพราะศาลภาษีอากรกลางยึดเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ มาประกอบการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี…


ปัญหาคือจะเก็บภาษี นายทักษิณที่ขายหุ้นและซุกหุ้นอย่างไร!