“นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ

04 ส.ค. 2565 | 16:28 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ส.ค. 2565 | 23:41 น.

“นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3  หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ  ย้ำภาระกิจหลักร่วมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายทั้งรัฐ เอกชน ประชาสังคมพ่วงสื่อสารมวลชน  ลั่นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นมีความพร้อมจัดการภัยพิบัติ

วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมช.มท.) เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการสาธารณภัย “ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” 

                  “นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ
โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) นายสมศักดิ์  เจริญไพฑูรย์  รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสมเกียรติ ถนอมกิตติ รองอธิบดีกรมที่ดิน  นายสักรินทร์ อินทรสถิตย์ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง  นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการภัยพิบัติ  ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 500 คน เข้าร่วมงาน

นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์ว่า สาธารณภัยเป็นประเด็นท้าทายยิ่งของประเทศ มีแนวโน้มเกิดได้รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจนับเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต 

                               
จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วน และทุกมิติจะต้องร่วมมือร่วมใจกันเตรียมความพร้อมในการจัดการสาธารณภัย เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้เพียงหน่วยงานเดียว กรม ปภ. ในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐในดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน 

โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการสาธารณภัย เพราะภัยพิบัติเกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนท้องถิ่นจึงเป็นกลไกแรกในการเข้าไปบริหารจัดการสาธารณภัยระดับพื้นที่ ดังนั้น การจัดการสาธารณภัยของประเทศที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพนั้น เราจะต้องให้ความสำคัญและสร้างความเข้มแข็งในการการบริหารจัดการสาธารณภัยตามวงจรการลดความเสี่ยงสาธารณภัยที่ครอบคลุม 

                         “นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ
ทั้งการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการฟื้นฟูบูรณะที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


“ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบสองทศวรรษของการจัดตั้งกรมปภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของรัฐที่มุ่งมั่นแน่วแน่ในการบูรณาการการจัดการสาธารณภัย บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาโดยตลอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการก้าวเดินไปสู่ทศวรรษที่ 3 ของการจัดการสาธารณภัย จะต้องเป็นการขับเคลื่อนด้วยการร่วมแรง ร่วมใจและสานพลังของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเริ่มต้นจากพลังท้องที่และท้องถิ่นบูรณาการในการมุ่งไปสู่การสร้างพลังแห่งการจัดการสาธารณภัยร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืน” นายนิพนธ์ กล่าว   

       “นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ   “นิพนธ์”ยกปภ.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 หน่วยงานหลักรับมือสาธารณภัยระดับชาติ