การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วาระแรก เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 โดยมีการอภิปรายในหลากหลายประเด็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบลงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ได้สิ้นสุดลง หลังจากที่ประชุมได้มีมีติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เรียบร้อยแล้ว
ผลการลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2566
- รับหลักการ 278
- ไม่รับหลักการ 194
- งดออกเสียง 2
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
- รายจ่ายประจำ 2,396,942 ล้านบาท คิดเป็น 75.26%
- รายจ่ายลงทุน 695,077 ล้านบาท คิดเป็น 21.82%
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 100,000 ล้านบาท คิดเป็น 3.14%
- รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ
- รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ
สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณรายจ่าย มีดังนี้
- งบประมาณรายจ่ายงบกลาง 590,470 ล้านบาท
- งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 1,090,329 ล้านบาท
- งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 218,477 ล้านบาท
- งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 772,119 ล้านบาท
- งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน 206,985 ล้านบาท
- งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ 306,618 ล้านบาท
-
นอกจากนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ 402,518 ล้านบาท คิดเป็น 12.6% ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้
- รายจ่ายงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 95,900 ล้านบาท
- การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จำนวน 306,618 ล้านบาท
สำหรับการจัดสรรงบประมาณปี 2566 สูงสุด 5 อันดับแรก มีดังนี้
- กระทรวงศึกษาธิการ 325,900.2 ล้านบาท คิดเป็น 10.2 % ของวงเงินงบประมาณ
- กระทรวงมหาดไทย 325,578.9 ล้านบาท คิดเป็น 10.2 % ของวงเงินงบประมาณ
- กระทรวงการคลัง 285,230.4 ล้านบาท คิดเป็น 9.0 % ของวงเงินงบประมาณ
- ทุนหมุนเวียน 206,985.6 ล้านบาท คิดเป็น 6.5 % ของวงเงินงบประมาณ
- กระทรวงกลาโหม 197,292.7 ล้านบาท คิดเป็น 6.2 % ของวงเงินงบประมาณ