โพลชี้ เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. คนกรุงไม่เน้นพรรคการเมือง

05 เม.ย. 2565 | 11:23 น.
อัปเดตล่าสุด :05 เม.ย. 2565 | 18:44 น.
666

สิงห์สยามโพล ม.สยาม เผยผลสำรวจคนกรุงกับ“การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และส.ก.พบมากกว่าร้อยละ 70ระบุ ไม่จำเป็นต้องมาจากตัวแทนพรรคการเมือง ส่วนร้อยละ 71.0 ชี้ควรมากจากนักการเมือง-นักธุรกิจ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์     ดร.จิดาภา  ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

 

โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม - 2 เมษายน 2565 ด้วยแบบสอบถามจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,242 ตัวอย่าง ระบุว่า 

 

ผู้สมัครผู้ว่า กทม. และ สก. ไม่จำเป็นต้องมาจากตัวแทนพรรคการเมือง มากกว่าร้อยละ 70 และร้อยละ 60 ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่า วัยรุ่นกลุ่ม 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.1 คิดเป็น

 

และกลุ่มต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 5.8 ยังเป็นฐานคะแนนสำคัญของพรรคการเมือง โดย พรรคก้าวไกลมีคะแนนนำในตัวผู้สมัครทั้งผู้ว่าฯ และ สก. คิดเป็นร้อยละ 30.4 และร้อยละ 31.6 ตามลำดับ 

ผศ. ดร.จิดาภา  ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.สยาม

 

ด้านคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ คิดเป็นร้อยละ 34.5 และร้อยละ 35.6 ตามลำดับ

 

ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาจราจร คิดเป็นร้อยละ 40.1 และรองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ คิดเป็นร้อยละ 31.6

 

ส่วนด้านภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักการเมืองและนักธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 71.0 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และ คิดเป็นร้อยละ 54.9 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)

 

ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างยังคงต้องการทักษะและประสบการณ์การทำงานที่คล่องตัวในการทำงานเชิงนโยบายทางการเมืองและขณะเดียวกันก็ต้องการทักษะความรู้ในการประกอบการทางธุรกิจที่กรุงเทพมหานครนั้นดำเนินการอยู่ เช่น รถไฟฟ้า และ รถ ขส.มก. เป็นต้น  


นอกจากนี้ ดร.จิดาภา  สรุปผลวิเคราะห์จากการสำรวจโดยย่อว่า เมื่อพิจารณาผลการสำรวจรายประเด็นย่อมพบว่าด้านความอิสระทางการเมืองสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สะท้อนให้เห็นว่า

 

ประชาชนโดยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 และร้อยละ 60 ตามลำดับต่างเห็นว่า ตำแหน่งทางการเมืองไม่ควรมีความสัมพันธ์ทางตรงกับการแสดงบทบาททางการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ หรือเป็นอิสระ เพราะอาจเกิดจากการที่ผู้สมัครหลายคนที่เป็นที่นิยมของประชาชนไม่สังกัดพรรคการเมือง

 

และเห็นว่าผู้สมัครอิสระหลายคนเป็นคนในพื้นที่ที่สร้างฐานคะแนนในเขตมาอย่างยาวนานกว่าผู้สมัครที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง  
 

 

ป้ายหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.-ส.ก.

ด้านคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ว่าฯกทม.และส.ก. พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ คิดเป็นร้อยละ 34.5 และร้อยละ 35.6 ตามลำดับซึ่งผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า

 

กลุ่มตัวอย่างต่างมุ่งหวังอาศัยทักษะความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงจะสร้างความมั่นใจในการทำงานได้ และยังคำนึงถึงประเด็นการป้องกันการคอร์รัปชันของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

ด้านประเด็นหาเสียงที่สำคัญของผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการแก้ปัญหาจราจร คิดเป็นร้อยละ 40.1 และรองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ คิดเป็นร้อยละ 31.6 ซึ่งผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตในเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทาง และการใช้ชีวิตตามปกติ มากกว่าเรื่องอื่นๆ

 

ดังนั้นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงควรตระหนักถึงการกำหนดและการดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาจราจร และการแก้ไขภาวะวิกฤติในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19  

 

ด้านภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าฯกทม.และส.ก. พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักการเมืองและนักธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 71.0 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และ คิดเป็นร้อยละ 54.9 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งส.ก. ซึ่งผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างยังคงต้องการทักษะและประสบการณ์การทำงานที่คล่องตัวในการทำงานเชิงนโยบายทางการเมืองและขณะเดียวกันก็ต้องการทักษะความรู้ในการประกอบการทางธุรกิจที่กรุงเทพมหานครนั้นดำเนินการอยู่ เช่น รถไฟฟ้า และ รถ ขส.มก. เป็นต้น