“ศรีสุวรรณ” ร้อง กกต. สอบ พปชร.ขับ 21ส.ส. พ้นพรรค อาจขัด รธน.ถึงขั้นยุบพรรค

21 ม.ค. 2565 | 12:57 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ม.ค. 2565 | 20:02 น.

“ศรีสุวรรณ” ร้อง กกต.สอบพรรคพลังประชารัฐ ขับ 21ส.ส.ออกจากสมาชิกสภาพ เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อาจขัด รธน.ถึงขั้นยุบพรรค

 วันที่ 21 ม.ค. 2565 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย   เข้ายื่นหนังสือถึงกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อไต่สวนและวินิจฉัย กรณีพรรคพลังประชารัฐ มีมติให้ 21 ส.ส.ของพรรคออกจากสมาชิกสภาพ   เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ 2561  และ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 หรือไม่  เนื่องจากเมื่อค่ำวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา  มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ  และ ส.ส.ของพรรค   โดยมีมติให้ส.ส. 21 คน ที่เป็นกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรค โดยอ้างกลุ่ม ส.ส.ดังกล่าวมีการเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ร้ายแรงที่กระทบกับเสถียรภาพและเอกภาพของ พปชร. โดยมีมติตามข้อบังคับข้อที่ 54(5)  ประกอบวรรคท้าย ให้สมาชิกภาพสมาชิกสิ้นสุดลง    เนื่องจากเป็นเหตุร้ายแรง เป็นเรื่องความมั่นคง เอกภาพ เสถียรภาพของพรรค

“ศรีสุวรรณ”  ร้อง กกต. สอบ พปชร.ขับ 21ส.ส. พ้นพรรค อาจขัด รธน.ถึงขั้นยุบพรรค

นายศรีสุวรรณ กล่างว่าการมีมติดังกล่าว มีข้อสงสัยหลายประการ  คือ  การที่สมาชิก หรือ ส.ส.เรียกร้องให้ปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ จะถือได้ว่าเป็นเหตุที่ร้ายแรง จนต้องให้ออกจากสมาชิกพรรคนั้นชอบหรือไม่    การที่มี 17 กรรมการบริหารพรรค   และ ส.ส. 61 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน   ประชุมกันแล้วมีมติให้สมาชิกพรรคออกจากสมาชิกภาพ โดยมิได้มี ส.ส.ทั้งหมดของพรรคเข้าร่วมประชุมจนครบ จะถือว่าชอบหรือไม่ 
 

ข้ออ้างในการมีมติเห็นชอบให้ ส.ส.21 คน พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพของพรรค  โดยอ้างข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54(5) ว่าเป็นเหตุร้ายแรงอื่นนั้น โดยที่พรรคพลังประชารัฐไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไต่สวน สอบสวน สมาชิกทั้ง 21 คน   เพื่อหาข้อสรุปก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมร่วมของพรรคพิจารณาเสียก่อนนั้น ชอบหรือไม่      และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่ถูกให้ออกนั้น ต้องพ้นสภาพ ส.ส.ไปเลยหรือไม่ เนื่องจากมิได้เกิดเหมือนกรณีการขอยุบพรรคหรือการถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค เพราะถ้าย้ายพรรคไปแล้วก็จะไปแซง บัญชีของพรรคอื่น หรือไปอยู่พรรคใหม่ที่ไม่เคยส่งเลือกตั้ง ก็จะไปเป็น บัญชีรายชื่อของพรรคนั้นๆ โดยไม่เคยถูกเลือกมาเลยไม่ว่าจะแบบไหน   ซึ่งน่าจะหมดสภาพ ส.ส.ไปเลย และ บัญชีรายชื่อ ของ พปชร.ลำดับถัดไป  น่าจะได้ขึ้นมาแทนที่ หรือไม่ อย่างไร    ซึ่งข้อสงสัยต่างๆ นี้อาจขัดต่อข้อบังคับพรรคและกฎหมาย

 

  ดังนั้น กกต. ต้องดำเนินการตรวจสอบ   หากพบเป็นการฝ่าฝืนย่อมอาจเข้าข่ายกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ม.92(2)  ซึ่งเป็นเหตุให้ กกต.อาจเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือสั่งยุบพรรคที่ฝ่าฝืนได้