“นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

26 ต.ค. 2564 | 11:47 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ต.ค. 2564 | 18:58 น.

“นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน สู่เป้าหมาย ประชาชนอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข ในเวทีรับฟังปัญหาของพระสงฆ์พื้นที่ชายแดนใต้

 

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนหารือร่วมกับผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจาก 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา และเครือข่ายพุทธศาสนิกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมตรังกรุงเทพ

 

นายนิพนธ์ กล่าวว่า ได้ติดตามการทำงานของ ศอ.บต.มาโดยตลอดในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ขอให้ทุกฝ่ายได้คลายกังวล และขอให้มั่นใจได้ว่า ตนพร้อมรับฟังและประสานการแก้ไขทุกปัญหาของพี่น้องประชาชน ทั้งประเด็นการตั้งคณะทำงานใน 2 ระดับ เพื่อบูรณาการงานเชิงนโยบายและงานระดับพื้นที่ ที่มีกระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ศอ.บต. ฯลฯ เป็นแกนกลาง เพื่อประสานบูรณาการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนกิจของสงฆ์ในประเด็นเร่งด่วน 3 ด้านได้แก่

   “นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน   “นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

 

การศึกษาเคราะห์ การเผยแผ่ และสาธารณสงเคราะห์ (ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงพระพุทธศาสนาในพื้นที่จชต.

 

นอกจากนี้ สิ่งที่ผลักดันขับเคลื่อนมาโดยตลอดและเกิดรูปธรรมแล้วก็คือ เรื่องการศึกษา ที่ขณะนี้ 3 จังหวัดมีสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาครบทุกจังหวัดแล้ว อย่างที่ จ.ปัตตานี ก็มี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่จ.ยะลา ก็มี ม.ราชภัฏยะลา และที่ จ.นราธิวาส ก็ มี ม.นราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการต่อยอดและเสริมสร้างความมั่นคงด้านการศึกษาในพื้นที่

 

การขับเคลื่อนต่อจากนี้ก็คือ เรื่องของการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ เนื่องจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวต่ำที่สุดในประเทศ ซึ่งต้องมีการยกระดับปัจจัยต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการยกระดับการผลิตสินค้าภาคการเกษตร กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

      “นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน    “นิพนธ์”ชูจชต.ต้องแก้ความยากจน-สร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

 

การเสริมสร้างช่องทางจำหน่ายตลาดออนไลน์ ตลอดจนการพัฒนาแห่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม เป็นต้น จะเป็นการช่วยเสริมสร้างให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ดีขึ้น สร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเล็งเห็นถึงต้นตอของปัญหาในพื้นที่แล้วว่าต้องเริ่มจากการแก้ปัญหาความยากจนก่อนจึงจะทำให้ภาคส่วนต่างๆสามารถดำเนินต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการดำรงชีวิตประจำวันต้องดำเนินควบคู่กัน เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตอยู่ได้ สู่เป้าหมายสูงสุดคือการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข