“ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะ Political Distancing การเมืองสงบ-ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

06 มี.ค. 2564 | 13:07 น.
857

“ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะ 8 ทางออกประเทศในการฟื้นเศรษฐกิจ หนึ่งในนั้นคือ Political Distancing ให้สงบบ้านเมืองสงบ

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งในงาน TJA Talk เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 66 ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หัวข้อ “มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก 

นายศุภชัย กล่าวถึงบรรยากาศทางการเมืองว่า การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ และการเมืองมีเสถียรภาพ ส่วนตัวคิดว่า ชั่วกัปชั่วกัลป์ เราขอกับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยผมเริ่มต้นการเมืองมา จนเลิก การเมืองมีเสถียรภาพของบ้านเราเป็นอะไรที่ลำบาก 

 “ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะ Political Distancing การเมืองสงบ-ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

แต่ว่าเฉพาะบ้านเรามีปัญหาก็ไม่ถูก เพราะจากที่ไปทำงานมากับหลายสิบประเทศทั่วโลกก็เห็นปัญหานี้ว่าทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาธิปไตยกำลังอยู่ในช่วงฟูมฟัก อ่อนแอ ก็ยังปัญหา 

“และหวังว่าสักวันหนึ่งจะมี Political Distancing หรือ การเมืองแบบเว้นระยะห่างเกิดขึ้นมาบ้าง ให้สงบ ๆ อยู่ห่าง ๆ กันบ้าง อย่าประชิดตัวกันมากเกินไป หรือใช้การเมืองแก้ปัญหาการเมืองอย่างเดียว โดยไม่ได้แก้เศรษฐกิจ เพราะทั้งหมดนั้นใช้เงินกระเป๋าเดียวกัน” นาย


อดีตเลขาธิการอังก์ถัด กล่าวอีก 7 ข้อเสนอ ในการฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้นั้น ได้ยกประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงปี 2564 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุเอาไว้ 8 ข้อ ซึ่งกล่าวไปแล้วถึงการเมือง ที่ตรงกับที่คิดเอาไว้ คือ

 “ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะ Political Distancing การเมืองสงบ-ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

1. การควบคุมการแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศ ที่ผ่านมาเราจัดการดีแต่ปล่อยคนเข้ามาน้อย แต่ก็ต้องดูให้เหมาะสมค่อย ๆ เปิด โดยเฉพาะหลังจากมีวัคซีนเต็มที่ ซึ่งทั่วโลกจะทำแบบบับเบลเทรนด์ทั้งนั้น

2.ช่วยเหลือการท่องเที่ยวและเอสเอ็มอี เป็นการท่องเที่ยวเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ทำลายสิ่งแวดล้อม 

3.เร่งการใช้งบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะเรื่องของการลงทุน 

4.เร่งให้ภาคเอกชนได้ลงทุนจริง โดยจะต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนจริงให้ได้ เพราะปัจจุบันเรามีสัดส่วนการลงทุนจริงต่อจีดีพี 23% ขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่30% ดังนั้นจึงต้องทำให้ได้ 27-30% 

5.การเตรียมความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยว 6. การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภาคเกษตร และการรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และ 7.การเตรียมตัวรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตามมี 4 ข้อที่อยากให้เน้น 1.การอัดฉีดเงินเข้าไปเพื่อประคองเศรษฐกิจนั้นทำได้ แต่ก็ต้องทำพร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปด้วยโดยอย่าละเลย โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG โมเดล) โดยเฉพาะ Bio Economic ที่มีความสำคัญอย่างมากกับประเทศไทย

 “ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะ Political Distancing การเมืองสงบ-ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

2.ด้านการศึกษา จะถดถอยทุกปีไม่ได้ เพราะที่ผ่านการอันดับทางการศึกษาของไทย โดย WEF ประกาศออกมาลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ตัวเลขเด็กมัธยมศึกษาที่ไปต่ออาชีวะศึกษามีแค่ 45% ของการศึกษาทั้งประเทศ ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมแล้วจะมีสัดส่วนสูงถึง 90% เพื่อให้ผลิตคนให้ตรงตามความต้องการได้ และจากนี้ไป 20 ปีข้างหน้าสังคมไทยจะเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดมีประชากรกว่า 28% ที่มีอายุเกิน 60 ปี พร้อมกันนี้ยังต้องพัฒนาทักษะคน โดยเพิ่มผลิตภาพเพิ่มขึ้น

3.การลงทุนปัจจุบันมีจำนวนการลงทุนน้อยมากและต่ำมาก โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปรับลดลงมาก โดยต่ำว่าประเทศเวียดนามแล้ว โดยมีคำขอแต่ยังไม่มีการลงทุน

และ 4. เรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนควบคู่ไปกับเอสเอ็มอี โดยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เพราะถือเป็นเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับฐานรากจริง ๆ