ประกาศกรมอุตุฯฉบับ 9 พายุซูลิก คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ กระทบไทยฝนตกหนัก

19 ก.ย. 2567 | 13:30 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ย. 2567 | 13:45 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับ 9 พายุซูลิก คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ เตือนพื้นที่เสี่ยงรับมือฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พร้อมตั้งศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก

วันที่ 19 กันยายน 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฯฉบับที่ 9 เรื่อง พายุ “ซูลิก” เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ย. 67) พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว และเมื่อเวลา 10.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองกวางตรี ประเทศเวียดนามประมาณ 90 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 17.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

 

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในคืนนี้ (19 ก.ย. 67) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ 


ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

 

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากมีดังนี้

วันที่ 19 กันยายน 2567 

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
     

วันที่ 20 กันยายน 2567 

  • ภาคเหนือ:จังหวัดลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 
  • ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล                                 

วันที่ 21 กันยายน 2567 

  • ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา
  • ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
     

วันที่ 22-23 กันยายน 2567 

  • ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 
  • ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดระนอง และพังงา

 

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

 

ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.

 

ไทยเตรียมรับมือพายุโซนร้อนซูลิก

อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก  โดยศูนย์ฯดังกล่าว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค ทั้ง 5 ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต จะรายงานสภาพอากาศในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและเตรียมพร้อมรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที

 

สำหรับการทำงานของศูนย์อำนวยการฯ จะมีการ Conference กับสถานีอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ร่วมกันประเมินสถานการณ์ของพายุ เพื่อจะได้ข้อมูลช่วยในการประเมินสถานการณ์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น 

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิค


นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 312/2567 แต่งตั้งคณะกรรมคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ชุดแรก เป็นคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.)  

 

พร้อมทั้งจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชาการหลักในการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้จับตาพายุลูกนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
 

ศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิค

 

 

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่  19 กันยายน 2567 โดยแจ้งพื้นที่แต่ละจังหวัดแต่ละอำเภอ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น , พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น ,พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,พื้นที่เฝ้าระวังระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น , พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม ,พื้นที่เฝ้าระวังทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง และพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้ 

 

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

  • หนองคาย (อ.สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ โพนพิสัย รัตนวาปี) 
  • บึงกาฬ (อ.ปากคาด)

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น

ภาคเหนือ 

  • ลำพูน (อ.เมืองฯ) 
  • ลำปาง (อ.เมืองฯ เมืองปาน วังเหนือ แจ้ห่ม แม่เมาะ งาว ห้างฉัตร)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

  • เลย (อ.ด่านซ้าย ปากชม) 
  • บึงกาฬ (อ.เมืองฯ เซกา บุ่งคล้า) 
  • นครพนม (อ.เมืองฯ ท่าอุเทน โพนสวรรค์) 
  • สกลนคร (อ.วานรนิวาส อากาศอำนวย) 
  • ยโสธร (อ.ป่าติ้ว คำเขื่อนแก้ว) 
  • อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ ชานุมาน) 
  • อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ เขื่องใน)

ภาคกลาง 

  • ชลบุรี (อ.เมืองฯ) 
  • จันทบุรี (อ.เขาคิชฌกูฏ) 
  • ตราด (อ.เมืองฯ คลองใหญ่ เกาะช้าง)

ภาคใต้ 

  • ระนอง (อ.เมืองฯ กระบุรี) 
  • พังงา (อ.ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วทุ่ง) 
  • ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) 
  • กระบี่ (อ.เมืองฯ) 
  • ตรัง (อ.วังวิเศษ ห้วยยอด)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง 

ภาคเหนือ 

  • เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย) 
  • ลำปาง (อ.เมืองฯ) 
  • พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ พรหมพิราม)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ รัตนวาปี โพนพิสัย) 
  • บึงกาฬ (ทุกอำเภอ) 
  • อุดรธานี (อ.เมืองฯ) 
  • สกลนคร (อ.บ้านม่วง)

ภาคกลาง 

  • อ่างทอง (อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ) 
  • พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางปะอิน บางไทร)

ภาคใต้ 

  • สตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ท่าแพ มะนัง ละงู ควนกาหลง)

พื้นที่เฝ้าระวังระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • บึงกาฬ (อ.เมืองฯ บุ่งคล้า บึงโขงหลง) 
  • นครพนม (อ.บ้านแพง ท่าอุเทน เมืองฯ ธาตุพนม) 
  • อำนาจเจริญ (อ.ชานุมาน) 
  • อุบลราชธานี (อ.เขมราฐ นาตาล โพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม

ภาคใต้ 

  • พังงา (อ.ตะกั่วป่า กะปง) 
  • ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)

พื้นที่เฝ้าระวังทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

ภาคกลาง 

  • ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ภาคใต้ 

  • ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

คลื่นสูง 2 - 3 เมตร/ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 

ภาคกลาง 

  • เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ชะอำ ท่ายาง) 
  • ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ) 

ภาคใต้ 

  • ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม) 
  • สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน เกาะสมุย เกาะพะงัน)

คลื่นสูง 2 - 4 เมตร/ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

ภาคกลาง 

  • ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ) 
  • ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง) 
  • จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง) 
  • ตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)

ภาคใต้ 

  • ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์) 
  • พังงา (อ.เกาะยาว ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) 
  • ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) 
  • กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก) 
  • ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ) 
  • สตูล (อ.เมืองฯ ละงู ท่าแพ ทุ่งหว้า)