เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-น้ำท่วมขังแม่น้ำยม -แม่น้ำน่าน วันที่ 22-27 ส.ค.67

22 ส.ค. 2567 | 11:48 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ส.ค. 2567 | 11:57 น.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เตือนประชาชนริมแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง วันที่ 22-27 สิงหาคมนี้ พร้อมแจ้งประชาชนพื้นที่เสี่ยงรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากวันที่ 24-30 ส.ค.67

วันที่ 22 สิงหาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสถานการณ์ฝนฟ้าอากาศในภาคเหนือ โดยระบุว่า ตลอดสัปดาห์นี้ภาคเหนือจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักกระจายหลายจังหวัด ส่งผลกระทบให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมฉับพลัน ส่วนในช่วงสัปดาห์หน้า (26 ส.ค.-2 ก.ย.67) คาดว่าฝนเคยตกหนักต่อเนื่องมีแนวโน้มจะลดลงบ้าง 

แจ้งเตือนน้ำท่วมเชียงราย -เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-น้ำท่วมขังแม่น้ำยม -แม่น้ำน่าน

 

ขณะที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ประกาศเตือนเพิ่มเติมเพื่อเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ช่วงวันที่ 22-27 สิงหาคม 2567 ทั้งนี้เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและชุมชนริมแม่น้ำยม-น่าน  ขอให้เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ดังนี้ 

 

เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-น้ำท่วมขังแม่น้ำยม -แม่น้ำน่าน วันที่ 22-27 ส.ค.67

 

แม่น้ำยม 

  • แพร่ ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ตั้งแต่บริเวณที่ลุ่มต่ำ อ.สอง ถึง อ.เมือง 1.00-2.00 ม.   ในช่วงวันที่ 22 – 27 ส.ค. 2567
  • สุโขทัย ขอให้หน่วยงานเฝ้าระวัง ร่วมบริหารจัดการน้ำ ผันน้ำ และควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.เมือง  ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

 แม่น้ำน่าน 

  • น่าน ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่งบริเวณนอกแนวคันกั้นน้ำที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)  บริเวณที่ลุ่มต่ำ อ.เมือง 1.00-1.50 ม. และ อ.เวียงสา 1.50-2.00 ม. ในช่วงวันที่ 22 – 27 ส.ค. 2567

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ยังได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 24 – 30 สิงหาคม 2567 ดังนี้

 

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ

ภาคเหนือ

  • จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และแม่ลาว) 
  • จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย และเชียงดาว) 
  • จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย) 
  • จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง) 
  • จังหวัดลำปาง (อำเภอวังเหนือ และงาว) 
  • จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน และเชียงม่วน) 
  • จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ  ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง) 
  • จังหวัดแพร่ (อำเภอเมืองแพร่ เด่นชัย สอง ลอง และวังชิ้น) 
  • จังหวัดสุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ และศรีสำโรง) 
  • จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน และท่าปลา) 
  • จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง) 
  • จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า และหล่มสัก)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม) 
  • จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย และโพธิ์ตาก) 
  • จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง) 
  • จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง) 
  • จังหวัดอุดรธานี (อำเภอเพ็ญ บ้านดุง และหนองหาน) 
  • จังหวัดสกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร บ้านม่วง คำตากล้า วานรนิวาส สว่างแดนดิน และพรรณานิคม) 
  • จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม บ้านแพง ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก และธาตุพนม) 

ภาคตะวันตก 

  • จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี สังขละบุรี ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค และด่านมะขามเตี้ย) 
  • จังหวัดราชบุรี (อำเภอสวนผึ้ง และบ้านคา) 
  • จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน และหนองหญ้าปล้อง) 
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน ปราณบุรี และบางสะพาน)

ภาคตะวันออก 

  • จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก ปากพลี และบ้านนา) 
  • จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี) 
  • จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์) 
  • จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ และเกาะกูด)

ภาคใต้ 

  • จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) 
  • จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) 
  • จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) 
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง และเวียงสระ)
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ลานสกา ถ้ำพรรณรา และทุ่งใหญ่) 
  • จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด รัษฎา และวังวิเศษ) 
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ และควนขนุน) 
  • จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง) 


2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี  และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ 

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ 

  • ลำน้ำงาว (อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย) 
  • แม่น้ำสาย (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) 
  • แม่น้ำอิง (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย) 
  • แม่น้ำน่าน (อำเภอเมืองน่าน เวียงสา เชียงกลาง ภูเพียง และท่าวังผา จังหวัดน่าน) 
  • แม่น้ำยม (อำเภอปง เชียงม่วน จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองแพร่ สอง และหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ อำเภอเมืองสุโขทัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองพิษณุโลก พรหมพิราม และบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก) 
  • แม่น้ำแควน้อย (อำเภอนครไทย และวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก) 
  • แม่น้ำป่าสัก (อำเภอหล่มสัก และหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์) 
  • ลำน้ำก่ำ (อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม) 
  • แม่น้ำตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จังหวัดตราด)


สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน
  2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและพนังกั้นน้ำ เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 
  3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และคำนึงถึงอิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล
  4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
     

 

ที่มาข้อมูล-ภาพ

  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  • สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย