มหาดไทยฯ เปิดสถิติคู่รักจดทะเบียนสมรสวันวาเลนไทน์ ประมาณ 20,000-25,000 คู่

14 ก.พ. 2567 | 10:40 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.พ. 2567 | 10:46 น.

มหาดไทยฯ เปิดสถิติคู่รัดจดทะเบียนสมรส 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ เฉลี่ยสูงสุดประมาณ 20,000 -25,000 คู่ ขณะที่ สถติหย่าร้างปี 2566 เกือบ 1.5 แสนคู่

14 กุมภาพันธ์วันวาเลนไทน์ คู่รักหลายคู่มักเลือกถือฤกษ์วันแห่งความรักจดทะเบียนสมรส ล่าสุด กระทรวงมหาดไทย ออกมาเปิดเผยสถิติคู่รักจดทะเบียนสมรสวันวาเลนไทน์

เดือน ก.พ. ปี 2562 – 66 พบสถิติการจดทะเบียนสมรสทั่วประเทศ และ ณ สถานกงสุล/สถานเอกอัครราชทูตไทยทั่วโลก ดังนี้

เดือนกุมภาพันธ์ 2562

  • จำนวน 46,759 คู่ เฉพาะวันที่ 14 ก.พ. 19,422 คู่

เดือนกุมภาพันธ์ 2563

  • จำนวน 41,191 คู่ เฉพาะ 14 ก.พ. 18,441 คู่

เดือนกุมภาพันธ์ 2564

  • จำนวน 29,150 คู่ (ลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด19) เฉพาะ 14 ก.พ. 2,321 คู่

เดือนกุมภาพันธ์ 2565

  • จำนวน 41,447 คู่ เฉพาะ 14 ก.พ. 17,115 คู่

เดือนกุมภาพันธ์ 2566

  • จำนวน 42,340 คู่ เฉพาะ 14 ก.พ. 18,464 คู่
  • ซึ่งสถิติในเดือน ก.พ. นี้ ถือว่ามีการจดทะเบียนสมรสสูงกว่าเดือนอื่นๆ ของปีที่จะมีจำนวนผู้จดทะเบียนสมรสอยู่ประมาณ 20,000-25,000 คู่

 

สำหรับสถิติการจดทะเบียนสมรสรายปีนั้น ระหว่างปี 2562-66 มีดังนี้

ปี 2562

  • มีผู้จดทะเบียนสมรสจำนวน 328,875 คู่

ปี 2563

  • จำนวน 271,352 คู่

ปี2564

  • จำนวน 240,979 คู่ ปี

ปี 2565

  • จำนวน 305,487 คู่

 

ปี2566

  • จำนวน 279,748 คู่

สถิติการจดทะเบียนหย่าดังนี้

ปี 2562

  • มีการจดทะเบียนหย่าจำนวน 128,514 คู่

ปี 2563 

จำนวน 121,011 คู่

ปี 2564

  • จำนวน 110,942 คู่

ปี 2565

  • จำนวน 146,159 คู่

 ปี 2566

  • จำนวน 147,337 คู่

 

 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในเทศกาลวาเลนไทน์ หรือ “14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก” ของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่คู่รักจำนวนมากนิยมถือเป็นฤกษ์ดีจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรส เพื่อให้การดำเนินการสมดังเจตนาของคู่รักทุกคู่ ราบรื่นไม่มีข้อติดขัด ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มีข้อแนะนำให้คู่เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต หรือสถานกงกุล/สถานเอกอัครราชทูตไทย

 

ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสต้องเตรียม บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นในทางราชการออกให้ หรือหนังสือเดินทาง ในกรณีที่เป็นคนต่างชาติ ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ได้รับการรับรองนิติกรณ์โดยกรมการกงสุล การต่างประเทศแล้ว  มีหนังสือยินยอมให้สมรสในกรณีผู้จะจดทะเบียนเป็นผู้เยาว์ นอกจากนี้ ในกรณีที่ประสงค์จะใช้นามสกุลของอีกฝ่ายต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และมีพยานบุคคลซึ่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วจำนวน 2 คน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วคู่รักที่ประสงค์จดทะเบียนสมรส ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายด้วย นั่นคือทั้งชาย และ หญิงต้องมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ หากมีกรณีจำเป็นประสงค์จะสมรสโดยอายุยังไม่ถึง 17 ปี จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สมรสแล้ว ส่วนคุณสมบัติอื่นนั้น มีอย่างเช่น ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ชายและหญิงที่จะจดทะเบียนสมรสต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาจะทําการสมรสกัน เป็นต้น

“เมื่อมีเอกสารครบแล้วคู่รักทุกคู่สามารถไปขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนเขต สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทย โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรสและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว.