ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน กี่วัน ถึงย้ายออกได้ เช็กขั้นตอนและหลักเกณฑ์อ่านด่วน

02 ก.พ. 2567 | 07:43 น.
3.5 k

ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน กี่วัน ถึงย้ายออกได้ หลัง สำนักบริหารงานทะเบียน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เปิดให้ย้ายที่อยู่เช็กหลักเกณฑ์ตรวจสอบรายละเอียดและคลิกอ่านทั้งหมดด่วน

ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน กี่วัน ถึงย้ายออกได้ จากกรณีที่ สำนักบริหารงานทะเบียน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เปิดหลักเกณฑ์ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน กี่วัน ถึงย้ายออกได้

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการตรวจสอบ สำนักบริหารงานทะเบียน สังกัดกระทรวงมหาดไทย รายละเอียดดังนี้

การแจ้งย้ายเข้า

หลักเกณฑ์

  • เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้า อยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายเข้า 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

 

1.การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท

2.การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท

3.การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

ขั้นตอนในการติดต่อ

  • ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง

การแจ้งย้ายออก  

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

 เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายออก 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

1.สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3.หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

5.ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว.

ที่มา: สำนักการบริหารทะเบียน