แนะไทยมองเวลส์คุมบุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยเสรี

01 ก.ย. 2566 | 15:42 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ย. 2566 | 15:42 น.

แนะไทยมองเวลส์คุมบุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยเสรี ห่วงการเลือกที่จะแบนเด็ดขาดจะนำไปสู่การสร้างปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนโดยควบคุมไม่ได้

นาย Owen Derbyshire ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในเวลส์อย่าง Keep Wales Tidy เปิดเผยว่า องค์กรและงานเทศกาลควรแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง เนื่องจากพบบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งบนพื้นถนนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยองค์กรไม่ได้ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าแต่อย่างใด

“องค์กรไม่ได้ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าแต่อย่างใด แต่ปัญหาที่กังวลเป็นเรื่องของพลาสติกชนิดแข็งและแบตเตอรี่ในบุหรี่ไฟฟ้าที่เรามองว่าอาจะสร้างผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม”

ก่อนหน้านี้ งานเทศกาล Glastonbury ก็ได้ระบุให้บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ห้ามนำเข้างานเทศกาล ขณะที่งานเทศกาลอื่นก็เริ่มทยอยพิจารณาการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งเช่นกัน 

นาง Suzanne Cass ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กร Ash Wales องค์กรสนับสนุนสังคมไร้ควันในเวลส์ กล่าวว่า เข้าใจดีถึงข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แต่ก็กังวลเช่นกันว่าการแบนผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งเหล่านี้จะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจตามมาต่อผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่

อย่างไรก็ดี องค์กรทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้อันดับต้นๆ ดังนั้นจึงต้องการเรียกร้องให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถรีไซเคิลได้ เพื่อให้สามารถทิ้งได้อย่างปลอดภัย

แนะไทยมองเวลส์คุมบุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยเสรี

ทั้งนี้ รัฐบาลเวลส์ไม่ได้นิ่งเฉยต่อประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด โดยรัฐบาลเวลส์ได้กล่าวถึงข้อกังวลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งว่า กำลังทบทวนข้อกำหนดความรับผิดชอบเพิ่มเติมของผู้ผลิตในระดับสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าด้วย โดยจะพยามมองหาวิธีที่จะสามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กเหล่านี้จากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพื่อให้สามารถทำการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น

ในประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเวลส์ สหราชอาณาจักร สวีเดน หรือนิวซีแลนด์ ล้วนมีจุดร่วมคือการที่รัฐบาลพยายามหาวิธีที่จะสร้างสมดุลระหว่างผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน กับผลประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ เป็นการชี้ชัดว่าการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายนั้นเกิดขึ้นหลังผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบและมีมาตรการควบคุมที่ชัดเจน และไม่มีการทิ้งคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง 

หากย้อนกลับมามองกรณีของประเทศไทย รัฐบาลที่ดีควรสนับสนุนให้ประชาชนมีทางเลือกในการลดอันตราย แต่พอเป็นบุหรี่ไฟฟ้ารัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขลกลับเลือกที่จะแบนผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้อย่างเด็ดขาดนำไปสู่การสร้างปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนโดยควบคุมไม่ได้ 

และยังปิดกั้นการเข้าถึงทางเลือกของผู้สูบบุหรี่กว่า 9.9 ล้านคนในไทยให้ต้องเลือกระหว่างการสูบบุหรี่ต่อไปหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่มาจากการสูบบุหรี่ทั้งๆ ที่เราสามารถช่วยชีวิตคนเหล่านี้ได้ด้วยการควบคุมมิใช่ปล่อยเสรี