นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 ทางกลุ่มฯได้ตั้งเป้าหมายผลิตรถยนต์ที่ 1.90 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มียอดผลิต 1.84 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1.150 ล้านคัน เท่ากับร้อยละ 65 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงร้อยละ 0.52 เมื่อเทียบกับปี 2566 (ผลิตได้ 1.156 ล้านคัน) และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน หรือร้อยละ 35 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผลิตได้ 685,628 คัน
-ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะซึ่งขนส่งสินค้าและคนเพื่อส่งออกไปทั่วโลกกว่าหนึ่งร้อยประเทศจึงอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากจากเศรษฐกิจชะลอตัว
-ประเทศจีนเปิดประเทศซึ่งอาจส่งผลให้การค้าโลกและการท่องเที่ยวเติบโตเป็นผลดีต่อการส่งออกของหลายประเทศดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศไทย
-การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลงมากส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น
-การลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้า
-คำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ (GCC)
-อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ในช่วงขาลงทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้น
-การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและการเพิ่มขึ้นใหม่ซึ่งจะ ส่งผลต่อการส่งออกลดลงและเงินเฟ้ออาจสูงขึ้น
-ตลาดทั้งในและต่างประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน และคู่แข่งเกิดขึ้นในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
-นโยบายของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การขึ้นภาษีสรรพสามิตในรถยนต์บางประเภทในลาว
ตั้งเป้าหมายที่ 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 685,628 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.39 มีปัจจัยดังนี้
-การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไทย ทำให้เกิดการเชื่อมโยง Supply Chain ของอุตสาหกรรม
-ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากกฎระเบียบและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
-เริ่มมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
-หนี้ครัวเรือนสูง หนี้สาธารณะสูง ค่าครองชีพสูง อัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของประชาชนลดลง ทำให้ยอดขายอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมี supply chain หลายอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ส่งผลต่อการจ้างงาน ทำให้รายได้คนงานก่อสร้างและโรงงานลดลง
-งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้าออกไปราว 8 เดือนทำให้การลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าออกไปด้วย ส่งผลให้การลงทุนการจ้างงานของเอกชนล่าช้าออกไป เศรษฐกิจจึงเติบโตในระดับต่ำ
-ภัยธรรมชาติที่คาดไม่ถึง อาจจะกระทบต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกร
-ความขัดแยังระหว่างประเทศอาจขยายตัวและเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่จะส่งผลให้ราคาพลังงาน สินค้า และวัตถุดิบสูงขึ้น
-การส่งออกสินค้าต่าง ๆ ในปีนี่อาจลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงส่งผลการผลิตการลงทุนการจ้างงานลดลง อำนาจซื้อลดลง
อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตถึงทิศทางความต้องการใช้รถยนต์ในไทย เริ่มหันไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยรถยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566 ยอดจดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 100,214 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 381.77
ขณะที่ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV ในปี 2566 จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 85,069 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 32.85 และยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV ในปี 2566 จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 11,703 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.28