สถานการณ์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรม EV ของไทยท่ามกลางการแข่งขันในอาเซียน 

07 ก.ย. 2566 | 05:44 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ย. 2566 | 09:29 น.
1.0 k

ระดับมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการขนส่งทางถนน เป็นประเด็นสำคัญในอาเซียน หลายประเทศรวมทั้งไทย จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งเพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ และเพื่อคว้าโอกาสจากกระแสความนิยมรถ EV ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

 

เป็นที่คาดหมายว่า การส่งเสริม การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า จะช่วยลดคาร์บอนจากการขนส่งและดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้าสู่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) สถิติในปี 2564 ตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ในอาเซียนมีมูลค่าราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2570 ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าในที่นี้ ไม่ได้มีเพียงรถยนต์ไฟฟ้า (EV)เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ได้รับนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินโดนีเซีย ไทย และ เวียดนาม

นายพอล ล็อก (Paul Lock) ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทแพน เอเชีย เมทัลส์ (Pan Asia Metals) หรือ PAM ซึ่งเป็นบริษัทซื้อขายแบตเตอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ (Australian Securities Exchange) เพียงแห่งเดียวที่มีโครงการผลิตลิเธียมคุณภาพสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้เขียนบทความพิเศษชิ้นนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่เร่งด่วน และจำเป็นต้องดำเนินการทันที

พอล ล็อก ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทแพน เอเชีย เมทัลส์ (Pan Asia Metals) หรือ PAM

“ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมเพียงรถยนต์อย่างเดียวอีกต่อไป แต่รวมถึงยานพาหนะสองและสามล้ออีกด้วย” ผู้บริหารของ PAM กล่าว พร้อมย้ำว่า การพัฒนาสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่จะปูเส้นทางสู่อนาคตที่ทั้งยั่งยืนและเฟื่องฟู

ทั้งนี้ ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในประเทศไทยและอินโดนีเซีย โดยในปี 2565 สัดส่วนยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย อยู่ที่ราว ๆ 3% จากยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ในขณะที่อินโดนีเซียมียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5%

นโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนการสนับสนุนเชิงนโยบายสร้างมูลค่าเศรษฐกิจตลาดใหม่ ๆ อย่างเช่นยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาทั่วทั้งภูมิภาค หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็เร่งออกนโยบายต่าง ๆ มาเพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน อาทิ

  • นโยบายลดค่าใช้จ่ายผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของเวียดนามที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเวลาสามปี
  • นโยบายลดและยกเว้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ในอินโดนีเซีย
  • นโยบายสร้างแรงจูงใจเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าของมาเลเซีย ที่ยกเว้นภาษีท้องถนนสำหรับเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายรายปี ทำให้ค่าใช้จ่ายยานยนต์ไฟฟ้าน้อยกว่าค่าใช้จ่ายรถยนต์รูปแบบเดิม เป็นต้น

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า นโยบายจากประเทศเวียดนามและอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับการลดค่าใช้จ่ายล่วงหน้าผ่านการยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจทางการเงิน ยกเว้นภาษีเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จ ในขณะที่รัฐบาลไทยพัฒนานโยบายที่มุ่งเน้นการดึงดูดผู้ผลิตระดับโลกและกระตุ้นการผลิตในประเทศเป็นหลัก

สถานการณ์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรม EV ของไทยท่ามกลางการแข่งขันในอาเซียน 

ความคืบหน้าของตลาดรถ EV ในไทย

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยผลิตรถยนต์มากกว่า 1.6 ล้านคันในปี 2564 และตั้งเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 225,000 คันภายในปี 2566 นับเป็น 10% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลยังตั้งเป้าที่จะบรรลุอัตราการเติบโตที่ 22% แบบทบต้นต่อปี (CAGR) สำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2025 

รัฐบาลไทยยังได้ให้เงินอุดหนุนสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และได้ยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนนำเข้าที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนความสำเร็จในระยะยาวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีเป้าหมายที่จะมีจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV 12,000 แห่งภายในปี 2573

สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในการสร้างแรงจูงใจด้านการลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คือการยกเว้นภาษีนิติบุคคล ในระยะเวลายกเว้นที่ขึ้นอยู่กับประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า และ นโยบายกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ลงทุนกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีนโยบายยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักรในการผลิต ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งโรงงานผลิต เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ดึงดูดผู้ผลิตทั่วโลกและกระตุ้นการผลิตในประเทศ  ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีเป้าหมายที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้านำเข้ามีราคาที่ใกล้เคียงกับยานยนต์ทั่วไปได้มากขึ้นด้วยมาตรการลดภาษี

ความท้าทายของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการจัดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่ทั่วถึง ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างครอบคลุมและมีการลงทุนที่เหมาะสม การดึงดูดผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่และสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงของชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาฐานการผลิตภายในประเทศ เพื่อเร่งผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้ารัฐบาลควรออกนโยบาย กำหนดกฎระเบียบ และสร้างแรงจูงใจ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาเลือกใช้การขนส่งด้วยพลังงานสะอาดแม้จะมีข้อจำกัดในระยะการใช้งานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

นอกจากนี้ ประเทศไทยควรชี้แจงข้อมูลระบบศักยภาพไฟฟ้าและให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานหมุนเวียน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และการแข่งขันที่สูงจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีการต่อสู้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

การเอาชนะปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุมจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแนวปฏิบัติที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้าให้แข็งแกร่ง ตั้งแต่การขุดทรัพยากรแร่สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า การแลกเปลี่ยนแบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การรีไซเคิลแบตเตอรี่ ไปจนถึงการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ความท้าทายที่สำคัญคือการรับประกันความยั่งยืนในการจัดหา การใช้งาน และการกำจัดแบตเตอรี่ EV ที่แม้ว่ารถ EV จะมีการปล่อยไอเสียที่ต่ำหรือเป็นศูนย์ แต่กระบวนการผลิตก็ไม่ได้เป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะแบตเตอรี่ EV ที่มีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความกังวลด้านความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการจัดหาแร่ธาตุที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ด้วยความรับผิดชอบและพัฒนาแนวปฏิบัติในการทำเหมืองแร่อย่างยั่งยืน

PAM กำลังศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งแร่ลิเธียมในไทย

ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นในการเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียนด้วยเป้าหมายในการก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างเห็นได้ชัด จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบตเตอรี่และโครงสร้างระบบการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะปฏิวัติตลาดยานยนต์ไฟฟ้าให้ผู้คนเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ด้วยอัตราการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างรวดเร็ว จากความพยายามของรัฐบาลในการขยายเครือข่ายระบบการชาร์จและพัฒนาความจุของกริด  รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายและการสร้างแรงจูงใจซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างการยอมรับยานยนต์ไฟฟ้า

PAM กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งแร่ลิเธียมในประเทศไทย

เมื่อประเทศไทยกำลังมุ่งสู่ระบบการขนส่งที่สะอาดและประหยัดพลังงานมากขึ้น วิสัยทัศน์สำหรับประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและก้าวหน้าในระดับแนวหน้าของการปฏิวัติรถยนต์ไฟฟ้าก็ปรากฏอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตร ทำให้วงการยานยนต์ในประเทศไทยอยู่ในภูมิทัศน์มีอนาคตที่สดใสกว่าที่เคย เพื่อคว้าโอกาสจากตลาด EVs เราจำเป็นต้องคลายข้อกังวลด้านความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับการจัดหา การใช้งาน และการกำจัดแบตเตอรี่ EV ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำระดับภูมิภาคในตลาดยานยนต์ไฟฟ้า และมีส่วนสนับสนุนระบบการขนส่งที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

“เนื่องจากเอเชียเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ระดับโลกและประเทศไทยนับเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยจึงมีข้อได้เปรียบจากความต้องการในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณภายในภูมิภาค ซึ่งมีส่วนช่วยปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนของพวกเรา” นายพอล ล็อก กล่าว และว่า  “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า พลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนขับเคลื่อนอนาคตของการขนส่งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแบตเตอรี่และแร่เพื่อสร้างพลังงานที่ยั่งยืน เราจึงใส่ใจการลงทุนในนวัตกรรม และอุปกรณ์คุณภาพที่มีมูลค่าสูงเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด และเรากำลังมุ่งมั่นสร้างพันธมิตรเพื่อยุคที่การขนส่งด้วยพลังงานสะอาดได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานใหม่ของโลก”

บทความพิเศษ โดย พอล ล็อก (Paul Lock) ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทแพน เอเชีย เมทัลส์ (Pan Asia Metals: PAM)

เกี่ยวกับ Pan Asia Metals (PAM: ASX)

บริษัท Pan Asia Metals Limited เป็นบริษัทซื้อขายแบตเตอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ (Australian Securities Exchange) เพียงแห่งเดียวที่มีโครงการผลิตลิเธียมคุณภาพสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเนื่องจากในเอเชียมีปริมาณการผลิตรถยนต์ต่อปีคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก ดังนั้น บริษัทจึงเห็นความสำคัญและได้กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการใช้แร่ที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ในภูมิภาค

PAM มุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าด้วยนวัตกรรมที่มีคุณค่าสูง และด้วยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของคู่ค้าในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งจากการใช้สารเคมีในการผลิตแบตเตอรี่และจากการใช้พลังงาน นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจร เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความต้องการสูงสำหรับตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 

โครงการเรืองเกียรติลิเธียม (Reung Kiet Lithium) ของ PAM ในประเทศไทย กำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นและกำหนดแผนการดำเนินงาน เพื่อรองรับความต้องการในการใช้แร่ลิเธียมทั่วโลกอย่างยั่งยืนผ่านโครงการที่มีชื่อว่า กะทะทอง (Kata Thong project) ในจังหวัดพังงา