เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ "3 พระธาตุ" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

26 ก.พ. 2568 | 02:27 น.

เจาะลึกประวัติศาสตร์ 3 พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ 2 แขวง “คำม่วน-สะหวันนะเขต” แห่งสปป.ลาว พระธาตุศรีโคดตะบอง พระธาตุอิงฮัง และพระธาตุโพน สัมผัสพลังศรัทธาแห่งลุ่มน้ำโขง

ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ที่เชื่อมโยงผู้คนสองฝั่งแม่น้ำมาแต่โบราณกาล มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สี่แห่งที่เป็นดั่งสายสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นั่นคือ พระธาตุพนมของไทย และ 3 พระธาตุสำคัญในลาว ได้แก่ พระธาตุศรีโคดตะบอง พระธาตุอิงฮัง และพระธาตุโพน

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

พระธาตุศรีโคดตะบอง: มรดกแห่งศรัทธาแขวงคำม่วน

 

 

พระอาจารย์วันเพ็ญ ชัยสร รองประธานพระพุทธศาสนาสัมพันธลาว แขวงคำม่วน เล่าถึงประวัติอันยาวนานของพระธาตุศรีโคดตะบองว่า "พระธาตุศรีโคดตะบอง” ถ้าจำกันได้ เป็นวัดที่ “โตโน่-ภาคิน” ดาราดังของไทยบวชเรียนหลังจากจบภารกิจว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง จากนครพนมมาที่แขวงคำม่วน

 

พระอาจารย์วันเพ็ญ ชัยสร

พระอาจารย์วันเพ็ญ เล่าว่า พระธาตุศรีโคดตะบอง เริ่มสร้างในช่วงเวลาเดียวกับ “พระธาตุพนม” ของไทยที่นครพนม มีเอกลักษณ์ที่สืบทอดมาจากศิลปะแบบล้านช้างและล้านนา

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

ซึ่งสะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคโบราณตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อพญานันทเสน น้องชายของพญาศรีโคตร ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ 5 องค์มาประดิษฐาน โดยเฉพาะงานบุญประจำปีที่จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

พระอาจารย์วันเพ็ญปิดท้ายว่า “พระธาตุศรีโคดตะบอง คือศูนย์รวมศรัทธาและสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างชาวลาวและชาวไทย เราขอเชิญชวนทุกท่านมาสัมผัสความงดงามของพระธาตุแห่งนี้ มาร่วมสืบสานศรัทธาและวัฒนธรรมที่งดงาม เพื่อให้มรดกนี้ดำรงอยู่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของภูมิภาคตลอดไป”

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

พระธาตุอิงฮัง: ศูนย์รวมจิตใจชาวสะหวันนะเขต

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

นายคำดี พลัดถิ่นทอง ผู้นำชุมชนบ้านธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันนะเขต อธิบายว่า พระธาตุอิงฮังไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาและความสามัคคีของคนในชุมชน" พระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 400 โดยพระยาศรีโคตรบูรณ์และพระยาศุภิตธรรมวงศา บนพื้นที่ที่เคยมี "ต้นใบห้าง" อันเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์

 

นายคำดี พลัดถิ่นทอง

 

ท่านเล่าถึงประเพณีสำคัญว่า “ในแต่ละปีจะมีงานบุญที่พระธาตุอิงฮังถึงสามครั้ง คือในเดือนธันวาคม เมษายน และพฤษภาคม ซึ่งไม่เพียงชาวลาวเท่านั้นที่มาร่วมงาน แต่ยังมีนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะไทย เวียดนาม มาร่วมงานอย่างคับคั่ง”

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

นอกจากนี้ ท่านยังเผยว่าพระธาตุอิงฮังกำลังอยู่ในกระบวนการเสนอชื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

พระธาตุโพน: พุทธประวัติแห่งเมืองไซพูทอง

 

ท่านพูสะหวัน เทบสีทา หัวหน้าห้องว่าการปกครองเมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ได้เล่าถึงความสำคัญของพระธาตุโพนหรือพระธาตุโผ่นว่า นี่คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาในนามของ “เวชสาลี” และได้แสดงธรรมเทศนาเป็นเวลา 7 คืน โดยมีทั้งเทวดาและมนุษย์มาร่วมฟังธรรม พระธาตุแห่งนี้ใช้เวลาสร้างถึงเกือบ 200 ปี และได้รับการทำนุบำรุงต่อเนื่องจากกษัตริย์ล้านช้างหลายพระองค์

 

ท่านพูสะหวัน เทบสีทา

 

ท่านพูสะหวัน เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุโพนว่า ท่านจะอำนวยอวยพรให้กับคนที่มีสัจจะ มีความซื่อสัตย์ ห้ามขี้โกง เคยมีครั้งหนึ่งเคยมีคนมาไหว้บอกว่าลูกหลานไปทำงานที่กรุงเทพไม่เคยได้ยินข่าวเลย ก็เลยมาขอพระธาตุว่า “ถ้ายังมีชีวิตอยู่ขอให้กลับมาบ้าน” ปรากฏว่าลูกที่อยู่กรุงเทพกินไม่ได้นอนไม่หลับ สุดท้ายก็ต้องกลับมาบ้านที่สะหวันนะเขต หลังจากนั้นผู้ที่มาขอก็ต้องการถวายแก้บนตามที่ขอ

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

“ชาวเมืองไซพูทองเคารพศรัทธา บ่ ลบหลู่พระธาตุโพน หากมีคนมีทำความผิดแล้วโกหก แค่บอกว่าให้ไปสาบานที่พระธาตุโพนเขาจะย่าน(กลัว)มาก รวมทั้งสมัยก่อนการออกศึกออกรบก็ต้องมาขอพรขอเศษพระธาตุไปด้วย”

 

เส้นทางบุญริมแม่น้ำโขง ไหว้ \"3 พระธาตุ\" ใน 2 แขวง สปป.ลาว

 

การเดินทางไปสักการะพระธาตุทั้งสามแห่งนี้จึงไม่เพียงเป็นการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่เชื่อมโยงผู้คนสองฝั่งโขงเข้าด้วยกันผ่านความศรัทธาและความเชื่อที่มีร่วมกันมาตั้งแต่โบราณกาล

 

เรื่องโดย : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง