จากกรณีที่ มติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท. ปรับราคาบริการจดหมายในประเทศประเภทซองและหีบห่อ โดยการปรับราคาครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี
ถามว่า?ทำไม ไปรษณีย์ไทย ขาดทุน
- เหตุผลแรก คือ ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน
- เหตุผลที่สอง คือ การเข้ามาของทุนข้ามชาติ อาทิ เคอร์รี่ เอ็กเพรส และ เจแอนด์ที เอ็กเพรส เป็นต้น เดินเกมส์หั่นราคาต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนส่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- แม้ไปรษณีย์ไทยมีจุดแข็งเรื่องจำนวนสาขา 1,280 แห่งทั่วประเทศ ส่วนวันหยุดยาวในส่วนไปรษณีย์นำจ่ายยังเปิดให้บริการทั่วประเทศ 700 แห่งก็ตาม
เมื่อพลิกดูผลประกอบการย้อนหลังของ ไปรษณีย์ไทย ยิ่งน่าเป็นห่วง สำหรับผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลังดังนี้
- ปี 2562 รายได้ 27,405 ล้านบาท กำไร 619 ล้านบาท
- ปี 2563 รายได้ 24,211 ล้านบาท กำไร 385 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 21,734 ล้านบาท ขาดทุน 1,624 ล้านบาท
รายละเอียดการปรับสินค้า
- ส่งจดหมายประเภทซองพิกัดแรก น้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม ยังคงไว้ที่ 3 บาทเช่นเดิม
- หากเกินพิกัด 10 กรัม เพิ่มราว 5-10 บาท
- ส่วนจดหมายประเภทหีบห่อ จากเดิมคิดอัตราเดียวกัน
- ปัจจุบันจะแยกออกมา โดยเคาะราคา 30-55 บาท
- จดหมายประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์
แม้จะปรับราคาขึ้น แต่ไปรษณีย์ไทย มีโปรโมชั่น ดังนี้
- บริการ EMS ที่ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ใช้บริการและต้นทุนผู้ประกอบการ
- โดยส่ง EMS วันจันทร์ – วันเสาร์ค่าส่งเริ่มต้น 25 บาท
- และวันอาทิตย์ค่าส่งเริ่มต้น 19 บาท
- สามารถเช็คสถานะได้ตลอดเส้นทาง
ผ่าแผนลงทุน
อย่างไรก็ตามเมื่อพลิกไปดูรายงานประจำปี 2564 พบว่า ไปรษณีย์ไทย มีโครงการที่สำคัญที่คาดว่าจะลงทุนใน 3 ปีข้างหน้า ดังนี้
- แผนการพัฒนา e-Commerce Logistics Platform การพัฒนาระบบ e-Commerce Logistics Platform ในการขยายฐานรายได้เพิ่มจากกลุ่มบริการใหม่ โดยร่วมกับพันธมิตร ที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาบริการใหม่เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ในการขับเคลื่อนธุรกิจรองรับการเติบโตของ e-Commerce โดยใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยในการพัฒนาบริการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ปณท โดยมีระยะเวลา การลงทุน 1 ปี (พ.ศ.2565) ลงทุน 22 ล้าน แบ่งเป็น เครื่องใช้สำนักงาน 20 ล้าน เงินสำรองเผื่อราคาของสูงขึ้น 2 ล้านบาท
- แผนงานที่ทำการไปรษณีย์อัจฉริยะ จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์อัจฉริยะ ในการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการและสร้างรายได้เพิ่มให้ปณท ในลักษณะของ Value Added และ New S-Curve เพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิต (Life Style) ของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปในการใช้บริการไปรษณีย์ โดยมีระยะเวลาการลงทุน 1 ปี(พ.ศ.2565) จำนวน 96 ล้านบาท
- แผนพัฒนาระบบบริการการเงินรูปแบบใหม่ เป็นเงินทั้งสิ้น 124.30 ล้านบาท
- แผนพัฒนาระบบ THP Core System เป็นเงิน 990 ล้านบาท
- . แผนจัดซื้อรถยนต์เพื่อทดแทน (ระยะที่ 3) การจัดซื้อรถยนต์เพื่อทดแทนยานพาหนะเดิมที่มีสภาพเก่าและมีอายุการใช้งานมานานเกินกว่า10 ปีเพื่อรองรับปริมาณงาน ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งของ ปณท โดยมีระยะเวลาการลงทุน 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) รวมทั้งสิ้น 1,084.45 ล้านบาท.