“สกมช.- สธ.”ลุยอีสาน เร่งสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์

22 ก.พ. 2567 | 09:36 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.พ. 2567 | 10:20 น.

สนง.คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ร่วมกับ สธ.ลุยภาคอีสาน ขับเคลื่อน Sectoral CERT สาธารณสุข สร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางสาวสายชล แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักประสานงาน สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นประธานเปิดงานประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าโครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Sectoral CERT ด้านสาธารณสุข และบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ปลอดภัย รูปแบบภัยไซเบอร์และการป้องกันการโจมตีไซเบอร์”

พร้อมทั้งร่วมเสวนาในหัวข้อ “Secure Your Digital Transformation Journey with Cybersecurity” ณ โรงแรมไอซาน่า โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
 

นางสาวสายชล แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักประสานงาน กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Sectoral CERT ด้านสาธารณสุข จะเข้ามาช่วยพัฒนา และเสริมสร้างการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้หน่วยงานด้านสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการโจมตีของภัยคุกคามทางไซเบอร์ตลอดเวลา ความก้าวหน้าครั้งสำคัญนี้ มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างรากฐานของความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ

นางสาวสายชล แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักประสานงาน สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

ถึงแม้ภาคสาธารณสุขจะเป็นหนึ่งใน sector ที่อยู่ในแนวหน้าของการบูรณาการทางเทคโนโลยี แต่ก็ไม่สามารถได้รับการยกเว้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและซับซ้อนได้ จึงค่อนข้างเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของข้อมูลประชาชนที่ละเอียดอ่อนนำมาซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยความตระหนักถึงความจำเป็นที่สำคัญสำหรับกลไกการป้องกันเชิงรุก ความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ของภาคสาธารณสุข

ทำให้เกิดโครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Sectoral CERT ด้านสาธารณสุขนี้ โดยไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ยังป้องกันแบบเชิงรุกเพื่อระบุ ประเมิน และบรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะสามารถทำลายความสมบูรณ์ของระบบสาธารณสุขได้อีกด้วย

“สกมช.- สธ.”ลุยอีสาน เร่งสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์

ทั้งนี้ เรามีเป้าหมายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคสาธารณสุขจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่ระบบการดูแลสุขภาพ กลายเป็นจุดริเริ่มในการปรับปรุงบริการด้านการดูแลสุขภาพ ความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย 

“นอกจากนี้ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การอบรมเพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านสถานการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก

สำหรับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข เพราะหน่วยงานสาธารณสุขเป็นหน่วยที่สำคัญของต่อชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ดังนั้น โครงการนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญ ในการยกระดับที่จำเป็นสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Sectoral CERT ด้านสาธารณสุขจะก่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” 

“สกมช.- สธ.”ลุยอีสาน เร่งสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์

โครงการ Sectoral CERT เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานภาคสาธารณสุขถูกโจมตีหลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ สกมช. จึงให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุข และทางผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้มีการสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์มาโดยตลอด

ประกอบกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานกำกับดูแลในด้านสาธารณสุข จึงได้ร่วมกับจัดทำโครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Sectorial CERT ด้านสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็วตลอด 24/7

อีกทั้งการเฝ้าระวัง ตรวจจับ รับมือ ป้องกัน แจ้งเตือน เพื่อบรรเทาสถานการณ์จากภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจัดการกับช่องโหว่ ตรวจสอบและประมวลผลหลังเกิดเหตุของหน่วยงาน และในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความปลอดภัยโครงการ Sectoral CERT และ Healthcare เริ่มต้นจากแนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ และหาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาดและภูมิคุ้มกันอื่น ๆ โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น รายงานวิจัย ข่าวสาร และสถิติเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและการดำเนินโครงการในอนาคต

“สกมช.- สธ.”ลุยอีสาน เร่งสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์

ทั้งนี้ โครงการ Sectorial CERT จะช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในภาคสาธารณสุข ทำให้สามารถระบุและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว ส่วนโครงการ Health Care ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลจัดการระบบในการรักษาผู้ป่วย และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและความผิดพลาดทางการแพทย์ โครงการทั้งสองโครงการมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้การให้บริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

สำหรับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ National Cyber Security Agency : NCSA  สกมช. ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ระเบียบ มาตรการ มาตรฐานขั้นต่ำ แนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน

ตลอดจนความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยประสานงาน เฝ้าระวัง รับมือและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ เมื่อมีเหตุภัยคุกคามเกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศดำเนินการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : NCSA Thailand