การนอนกรน นับเป็นภัยเงียบที่อันตรายและแฝงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคของหลอดเลือดในสมอง
1.การนอนกรนธรรมดา (primary snoring)
2.ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย (upper airway resistance syndrome) หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย (obstructive sleep apnea)
การมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยจัดเป็นชนิดที่อันตราย เพราะเมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ จะมีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงที่กรนเสียงดังและค่อยสลับกันเป็นช่วง ๆ จะกรนดังขึ้นเรื่อย ๆ และจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง คล้ายการกลั้นหายใจ
ช่วงที่หยุดหายใจนี้จะทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลง ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองต่อภาวะนี้โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้นเพื่อหายใจใหม่โดยมีอาการสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง หรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ
ดังนั้น คนที่นอนกรนจึงตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกเหมือนนอนไม่พอ แม้ว่าจะนอนเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากพอก็ตาม รวมทั้งยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพโดย มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรคของหลอดเลือดในสมอง
1. อายุมาก
ทำให้เยื่อและกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจบริเวณลำคอ เช่น ผนังด้านข้างของช่องคอ ลิ้นไก่ เพดานอ่อน ลิ้น หย่อนยานและขาดความตึงตัว ทำให้ตกไปขวางทางเดินหายใจได้ง่าย
2. เพศชาย จะกรนมากกว่าเพศหญิง
เนื่องจากเชื่อว่า ฮอโมนเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวที่ดี
3. ความอ้วน
ทำให้มีไขมันสะสมที่ด้านข้างของช่องลำคอมากขึ้น ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง
4.ภาวะใดที่ทำให้จมูกคัดแน่น
ทำให้การหายใจติดขัด และลำบากมากขึ้น เช่น ผนังกั้นโพรงจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบและเนื้องอกในจมูก เป็นต้น
5.ลักษณะโครงสร้างของกระดูกใบหน้า
คนที่มีคางเล็กหรือกระดูกแก้มแบนจะมีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอแคบ
6.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับ
จะทำให้กล้ามเนื้อที่เปิดช่องทางเดินหายใจอ่อนแรง ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้นและมีผลกดการทำงานของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เมื่อเกิดภาวะการหยุดหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลเสียต่อสมองและหัวใจ
7.การสูบบุหรี่
ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจแย่ลง
8.กรรมพันธุ์
พบว่า ผู้ที่มีประวัติโรคนอนกรนในครอบครัว จะมีโอกาสเป็นโรคนอนกรนได้มากขึ้น
หากพบว่าอาการนอนกรนไม่ได้อยู่ในระดับที่อันตรายสามารถแก้ไขอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้
1.ปรับเปลี่ยนท่านอนให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว
2.รักษาน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน
3.งดการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5.ปรับการนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
6.หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงนอน
ข้อมูล โรงพยาบาลสมิติเวช , โรงพยาบาลเพชรเวช