“หวัดลงคอ” อาการเป็นอย่างไร รักษาให้ไว-วิธีการดูแลตนเอง

03 มิ.ย. 2566 | 09:11 น.
อัปเดตล่าสุด :03 มิ.ย. 2566 | 09:29 น.

หากทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการติดเชื้อ ไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำมูกเยอะขึ้น ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป น้ำมูกอาจไหลกลับเข้าสู่ลำคอ กลายเป็นอาการหวัดลงคอได้

 

หวัดลงคอ ไม่ใช่ศัพท์ในทางการแพทย์ แต่เป็นภาษาพูด ซึ่งไม่ได้มีสาเหตุของอาการที่แน่ชัด จึงทำให้คนมักเข้าใจผิด บางคนเข้าใจว่าเป็น อาการจากโรคภูมิแพ้ บ้างก็เข้าใจว่าเป็น อาการจากโรคหวัด ที่เกิดจากการติดเชื้อ

หวัดลงคอ คือ อาการที่เกิดจากการกระบวนการทำงานของร่างกาย ปกติกระเพาะอาหารและลำไส้จะผลิตสารคัดหลั่งขึ้นมาในทางเดินหายใจและลำคอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจและเพื่อช่วยดักจับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส แต่หากทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการติดเชื้อ ไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำมูกเยอะขึ้น ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป น้ำมูกอาจไหลกลับเข้าสู่ลำคอ กลายเป็นอาการหวัดลงคอได้

  • หวัดลงคอจากโรคหวัดภูมิแพ้ (โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ) เกิดจากเยื่อบุจมูกสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลานาน จนเกิดการอักเสบ และทำให้เกิดอาการของโรค
  • หวัดลงคอจากโรคหวัด ในทางการแพทย์แล้วอาการหวัดลงคอ มักหมายถึง อาการคออักเสบหรือคอหอยอักเสบ (Pharyngitis) ที่เกิดจากการติดเชื้อ เดิมทีโรคหวัดนั้นเป็นการติดเชื้อไวรัสบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน มักทำให้เกิดอาการไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และมีไข้ เมื่อเชื้อหวัดลามลงไปในคอจึงทำให้เกิดอาการคออักเสบและเจ็บคอได้

อาการหวัดลงคออาจเกิดจากโรคหวัดภูมิแพ้ หรือโรคหวัดจากการติดเชื้อ

สรุป อาการโดยทั่วไป

  • คันจมูก คัดจมูก
  • เสมหะเหนียวข้น
  • หายใจไม่สะดวก
  • น้ำมูกไหล
  • ไอบ่อย
  • เสียงแหบแห้ง
  • เจ็บคอ จุกแน่นคอ

ความแตกต่างของอาการหวัดลงคอที่เกิดจากภูมิแพ้และที่เกิดจากเชื้อหวัด คือ เชื้อหวัดมักจะทำให้เป็นไข้และส่งผลให้น้ำมูกเหนียวมีสีเหลืองหรือสีเขียวที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ดังนั้น เมื่อไปพบแพทย์จึงควรแจ้งอาการให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด

งดใช้เสียง และใส่หน้ากากอนามัย

ควรดูแลตนเองอย่างไร เมื่อมีอาการหวัดลงคอ

  • งดใช้เสียง และใส่หน้ากากอนามัย
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสม
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชน หรือ สถานที่แออัด
  • พยายามปิดหน้าต่างและใช้เครื่องปรับอากาศแทน ปรับอุณหภูมิในที่พักอาศัยให้เหมาะสม
  • ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น หมั่นทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ
  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ ทำความสะอาดพื้นด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด แทนการกวาดแห้งหรือปัดฝุ่น เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น
  • ล้างมือทันทีหลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง

อย่างไรก็ตาม หากเจ็บคอนานไม่หายสักที อาจไม่ใช่แค่เป็นหวัด ดังนั้น หากมีอาการหวัดลงคอ นานเกิน 2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิครินทร์