อาการทางจิตที่ต้องรักษาด่วนเป็นยังไง อันตรายแค่ไหน สรุปครบที่นี่

01 มิ.ย. 2566 | 11:50 น.
อัปเดตล่าสุด :01 มิ.ย. 2566 | 11:51 น.
610

อาการทางจิตที่ต้องรักษาด่วนเป็นยังไง อันตรายแค่ไหน สรุปครบที่นี่ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากกรมสุขภาพจิตไว้ให้แล้ว รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย 3 รูปแบบ

อาการทางจิตเป็นหนึ่งในอาการป่วยที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีผลกระทบต่อทั้งผู้ป่วยเอง และคนรอบข้าง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คืออาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แบบไหนที่ควรรีบรักษา

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องดังกล่าว พบว่า 

อาการป่วยทางจิตเป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางความคิด การรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และหลายครั้งนำมาซึ่งผลเสียที่พบบ่อยในสังคม เช่น การทำร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชถูกมองเป็นคนน่ากลัว หรือถูกอคติจากสังคม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคดังกล่าวสามารถบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ เริ่มต้นที่คนในครอบครัวผู้ป่วยเอง

อาการป่วยทางจิตเวชเกิดจากสารเคมีสื่อประสาทในสมองถูกรบกวน เช่น การใช้สารเสพติด กรรมพันธุ์ การติดเชื้อ เป็นต้น ส่งผลให้สารเคมีในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมการแสดงออก เนื่องจากสารเคมีที่เปลี่ยนแปลงในสมองนั้นส่งผลทางด้านความคิด การรับรู้ และการใช้ชีวิตในสังคม

ผลกระทบ

  • ผลกระทบต่อความคิดคือผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิด หรือคิดว่าจะมีคนมาทำร้ายทั้งที่ไม่มี
  • ผลกระทบต่อการรับรู้คือการเห็นภาพหลอน หูแว่ว แตกต่างไปจากความเป็นจริง สามารถรับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ที่พบบ่อยที่สุดคืออาการหูแว่ว
  • ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคม คือผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานได้ ไม่มีสมาธิ เนื่องจากเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากความคิดของตนเอง

อาการทางจิตที่ต้องรักษาด่วน

  • เห็นภาพหลอน
  • คิดหวาดระแวง
  • พูดคนเดียว
  • หงุดหงิดก้าวร้าว
  • ไม่หลับไม่นอน
  • เดินไม่หยุด
  • แยกตัวออกจากสังคม
  • อยากฆ่าตัวตาย
  • ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
  • พฤติกรรมไม่เหมือนเดิม
  • คิดว่าตนเองเหนือมนุษย์
  • หูแว่ว

วิธีช่วยผู้ป่วย

  • สังเกตอาการ
  • รับฟังให้กำลังใจ
  • ไม่กระตุ้นอารมณ์
  • ร่วมพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
  • มาพบแพทย์ตามนัด/หากอาการกำเริบ

วิธีรักษาผู้ป่วย

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ห้ามใช้สารเสพติด
  • กินยาต่อเนื่อง
  • ปราศจากอาวุธ

ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต